ป้ายกำกับ

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

การเจาะไต (Renal Biopsy)

Percutaneous Renal Biopsy หรือ kidney biopsy คือ การเจาะเก็บเนื้อเยื่อจากไตเพื่อส่งตรวจวินิจฉัยทางเนื้อเยื่อหรือเซลล์วิทยา (Histology or Cytology) โดยสอดเข็มจากภายนอกร่างกายผ่านผิวหนังเข้าไปที่ไต ดังแผนภาพด้านล่าง
แผนภาพแสดงการเจาะไต


ข้อบ่งชี้ในการเจาะไต

1. ยืนยันชนิดของไตอักเสบ ซึ่งโดยมากจะเก็บเนื้อเยื่อจากส่วนล่างของไต
2. รอยโรคเฉพาะที่ในไต เช่น เนื้องอก หรือรอยผิดปกติที่สงสัยเนื้องอก กรณีนี้ต้องสอดเข็มเข้าไปตรงรอยโรคนั้นๆ

การประเมินผู้ป่วยก่อนเจาะไต

ประเมินความเสี่ยงต่อการเสียเลือดมาก เช่น 

  • ภาวะที่เลือดออกหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟิลเลีย (Hemophilia), การทำงานของตับบกพร่อง (ตับแข็ง), ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ
  • ใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ Aspirin, ยา Antiplatelet อื่นๆ, Heparin, Warfarin ซึ่งหากแก้ไขภาวะนี้ได้ ก็สามารถทำการเจาะไตได้
ประเมินรอยโรคจากภาพ imaging ของผู้ป่วยเพื่อวางแผนหาทางสอดเข็มที่ปลอดภัยและเข้าถึงรอยโรคได้

ประเมินผลเลือด ได้แก่
Platelet count
Prothrombin time (PT)
Partial Thromboplastin Time (PTT)
แต่กรณีผู้ป่วยที่ได้รับยา Aspirin หรือยาที่ฤทธิ์ต่อต้านการทำงานเกร็ดเลือดต้องตรวจผลเลือดคือ Bleeding time อีกด้วย
นัดหมายวันที่และเวลาที่มาเจาะไต 
ออกเอกสารความเข้าใจหัตถการให้ผู้ป่วยหรือญาติ
ออกเอกสารการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยและพยาบาลตึกผู้ป่วย
ตัวอย่างเอกสารเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการเจาะไต
เนื่องจากหลังการเจาะไตจำเป็นต้องเฝ้าระวังภาวะเลือดออกอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เราจึงต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยในในวันที่มาเจาะไต จึงต้องเตรียมเอกสารสำหรับการเป็นผู้ป่วยในด้วย
กำชับให้พยาบาลผู้ป่วยในเตรียมหมอนทราย (น้ำหนัก 0.5 กก.)สำหรับกดทับแผลหลังการเจาะไตด้วย

การเตรียมอุปกรณ์สำหรับเจาะไต
1.    ใบเตรียมผู้ป่วย
2.    ใบเซนต์ยินยอมรับการตรวจ
Set ทำแผล (ประกอบด้วย ถาดสเตนเลส, forceps, ถ้วยสเตนเลสสำลี ก้อนก๊อส 10 แผ่นผ้าเจาะกลางไซริงแก้วขนาด10ซีซีขวดสเตอไรส์ขนาด 10ซีซี พร้อมฝาจุกยาง ขวดแผ่นสไลด์แก้วสำหรับสเมียร์ แผ่น พร้อมผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
Dressing set 

3.    ปากกาเขียนไวท์บอร์ด แบบ permanent (สำหรับทำเครื่องหมายบนผิวหนังผู้ป่วย)
4.    ถุงมือ 6 นิ้วครึ่ง – 7 นิ้วครึ่ง
5.    เข็ม No.18 , 20 ,24 สำหรับดูดและฉีดยาชา
6.    พลาสเตอร์ยาปิดแผล 
7.    ถุงพลาสติกสเตอไรด์ไว้หุ้ม probe ultrasound พร้อมด้วยยางรัดธรรมดา
8.    เข็ม Biopsy แบบ automate trucut (Hunter biopsy Needle) 16G 

Hunter biopsy Needle 16G

9.    Chlorhexidine solution 2%
10.          Sterilized ultrasound Jelly (กรณีใช้ ultrasound guide procedure)
11.          ใบมีดเบอร์ 11
12.         Formalin 10 % 1 ขวด ไว้แช่ชิ้นเนื้อ
13.        เอกสารส่งเนื้อเยื่อ Histology 
14.         หมอนทรายไว้กดห้ามเลือด  
15.         กรณีที่ต้องส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น Immunofluorescence หรือ Electronmicroscopy ต้องเตรียมเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการให้นำกระดาษฟลอยด์สำหรับใส่ชิ้นเนื้อและแช่ในน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice) ด้วย

วิธีตรวจ


1.    เตรียมผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจ ท่าคว่ำ หนุนหมอนเตี้ยๆไว้ใต้หน้าท้อง
2.    พยาบาลอธิบายขั้นตอนการตรวจให้ผู้ป่วยทราบ
3.    พยาบาลวัด Vital Sign และลงบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วยก่อนการตรวจ
4.    แพทย์ทำการ Localized ด้วยเครื่อง US  และทำ Marker ตำแหน่งที่จะเจาะด้วยปากกา
5.    เทคนิเชี่ยนเปิด Set  ทำแผล
6.    เท Chlorhexidine Solution ใส่ถ้วย
7.    แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะด้วย Chlorhexidine Solution และปูผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
8.    เทคนิเชี่ยนเตรียม 2 % Xylocaine  ให้แพทย์ ห่อหุ้ม Ultrasound prob ด้วย ถุงพลาสติกสเตอไรล์
9.    แพทย์ทำการฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะเจาะ  ขยายปากแผลด้วยใบมีดเบอร์ 11 แล้วนำเข็ม Biopsy ที่เตรียมไว้สอดเข้าไปเป้าหมาย และตัดเนื้อเยื่อออกมา แช่ในน้ำยา Formalin
10.          หลังจากทำการตรวจเสร็จ  แพทย์จะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ยา หรือ Gauze และใช้หมอนทรายกดทับเพื่อช่วยการห้ามเลือด
11.          พยาบาลวัด Vital Sign หลังตรวจเสร็จ  พร้อมทั้งบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วย

12.          แพทย์เขียนเอกสารส่งตรวจเนื้อเยื่อ คำสั่งดูแลผู้ป่วยหลังการเจาะไต, ป้อนคำสั่งส่งตรวจเนื้อเยื่อผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์, และพิมพ์รายงานการทำหัตถการ
13. ส่งผู้ป่วยกลับตึกผู้ป่วยใน

กลับสู่หน้า สารบัญ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พิมพ์คำถามหรือข้อเสนอแนะที่นี่

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น