ป้ายกำกับ

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

PERCUTANEOUS ABLATION

ความหมาย
percutaneous: ผ่านทางผิวหนัง
Ablation: การทำลาย
Percutaneous Ablation: การทำลายผ่านทางผิวหนัง หมายถึงสอดเครื่องมือผ่านทางผิวหนังแล้วทำลายรอยโรค
วิธีการทำลายรอยโรค

  • ใช้สารเคมี เช่น เอธานอลเข้มข้น สำหรับ เนื้องอก ซิสต์ 
  • ใช้ความร้อน สำหรับ เนื้องอก, เส้นเลือดขอด

แหล่งกำเนิดความร้อน มีหลายทางเลือก ได้แก่
คลืนวิทยุ (Radiofrequency, RF)
คลื่นไมโครเวฟ (Microwave)
เลเซอร์ (Laser)

  • ใช้ความเย็น สำหรับ เนื้องอก แหล่งกำเนิดความเย็นได้แก่ ไนโตรเจนเหลว (Liquid nitrogen)


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การรักษามะเร็งปอดด้วยเข็มความร้อน

ความหมาย
การรักษามะเร็งปอดด้วยเข็มความร้อน (Percutaneous Ablation of lung cancer) หมายถึงการทำลายมะเร็งด้วยการสอดเข็มพิเศษเข้าไปยังรอยโรค และปล่อยความร้อนกระจายไปรอบปลายเข็มเพื่อทำลายเนื้อเยื่อของมะเร็ง ดังภาพตัวอย่างด้านล่างนี้
แผนภาพแสดงเข็มน้ำความร้อนเพื่อทำลายมะเร็งปอดด้านขวา

ข้อบ่งชี้การรักษา

  • การทำลายเนื้องอกให้หมด
  • กรณีที่สภาวะผู้ป่วยไม่สามารถทนรับการผ่าตัดได้ จะใช้วิธีนี้ทำลายเนื้องอกก้อนเล็กกว่า 3 ซม. ให้หมดไปได้
  • การทำลายเนื้องอกบางส่วนเพื่อบรรเทาอาการ
  • กรณีที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือติดกับอวัยวะสำคัญทำให้ไม่สามารถผ่าตัดได้ การใช้เข็มความร้อนทำลายมะเร็งบางส่วนเพื่อบรรเทาอาการบางอย่างเช่น ไอเป็นเลือด อาการเหนื่อยหอบจากก้อนกดเบียดทางเดินหายใจ หรืออาการปวด

ข้อห้ามทำ

  • ภาวะเลือดออกหยุดยากที่ไม่สามารถควบคุมได้

ขั้นตอนการปรีกษา

  1. เจ้าหน้าที่รังสีหรือพยาบาลรับเรื่องปรึกษาและรวบรวมประวัติความเจ็บป่วย ภาพสแกนผู้ป่วยที่สำคัญ และประวัติความเสี่ยงรวมถึงยาที่เกี่ยวข้องกับภาวะเลือดออกหยุดยาก ให้กับรังสีแพทย์
  2. ติดต่อบริษัทตัวแทนเช่าเข็มความร้อนต่างๆ
  3. รังสีแพทย์ประเมินข้อมูล และระบุวันทำการรักษา และทำข้อตกลงกับแพทย์เจ้าของไข้และวิสัญญีแพทย์
  4. แพทย์เจ้าของไข้หรือรังสีแพทย์นัดผู้ป่วยมารักษาแบบผู้ป่วยใน
  5. ตรวจเลื่อดเพื่อหาความเสี่ยงต่อเลือดออกหยุดยาก ได้แก่ platelet count, PTT, PT และ INR
  6. วิสัญญีแพทย์มาประเมินผู้ป่วยเพื่อวางแผนการให้ยาระงับความเจ็บปวดโดยเน้นที่ conscious sedation

การเตรียมตัว
ให้ผู้ป่วยศึกษาแนวทางการรักษาและการเตรียมตัวได้จาก ลิงค์นี้ มะเร็งปอด: การรักษาด้วยเข็มความร้อน
การเตรียมอุปกรณ์

  • ติดต่อเช่าเครื่องมืออุปกรณ์เข็มความร้อนจากบริษัทตัวแทนล่วงหน้า
  • เตรียมห้อง CT scan หรือ ห้อง DSA (กรณีเครื่องรุ่นใหม่ที่มีระบบนำร่อง (Needle navigation)
  • เอกสารเตรียมผู้ป่วย
  • เอกสารยินยอมรับการทำหัตถการ
  • วิสัญญีแพทย์เตรียมแผนการให้การระงับความรู้สึก
  • set ทำแผล
  • ชุดกาวน์สำหรับแพทย์
  • แถบติดผิวหนังสำหรับระบุตำแหน่งสอดเข็มสำหรับเครื่อง CT scan
  • ปากกาเขียนไวท์บอร์ดชนิดลบออกยาก
  • ถุงมือปลอดเชื้อ
  • น้ำยาทำความสะอาดผิวหนัง เช่น 2% Chlorhexidine, Betadine
  • เข็มยาชา เบอร์ 18G, 24G, และ Spinal needle 22G
  • ใบมีดเบอร์ 11
  • เข็มความร้อนจากบริษัทที่ติดต่อได้
  • พลาสเตอร์ปิดแผล
  • สายระบาย (กรณีมีลมรั่วในช่องอก) ขนาด 8F
  • Needle holder (คีมจับเข็มเย็บแผล)
  • ไหมเย็บผิวหนัง เช่น Silk, Nilon ขนาด 2,0
  • กรรไกรตัดไหม
  • หมอนทรายไว้กดห้ามเลือด

ขั้้นตอนการทำ
ผู้ป่วย admit ในตึกผู้ป่วยก่อนวันทำการรักษา เพื่อให้แพทย์ประเมินสภาพร่างกายก่อนรักษา
ส่งผู้ป่วยมายังแผนกรังสีวิทยาก่อนเวลานัดครึ่งชั่วโมง
เตรียมผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจ
ยืนยันการทำหัตถการถูกคน ถูกตำแหน่ง ถูกอวัยวะ (time out)
อธิบายขั้นตอนการตรวจให้ผู้ป่วยทราบและผู้ป่วยเซนต์ยินยอมรับการตรวจ
วิสัญญีแพทย์ให้การระงับความรู้สึกที่เหมาะสม 
พยาบาลวัด Vital Sign และลงบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วยก่อนการตรวจ
แพทย์ทำการ Localized ด้วยเครื่อง CT หรือ DSI (ตามแต่ที่วางแผนไว้) และทำ Marker ตำแหน่งที่จะเจาะด้วยปากกา 
เทคนิเชี่ยนเปิด Set  ทำแผล
เท Betadine Solution ใส่ถ้วย
แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะด้วย Betadine Solution และปูผ้าสะอาด ตามด้วยสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่รังสีเตรียม 2 % Xylocaine  ให้แพทย์
แพทย์ทำการฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะเจาะ  และใช้เข็มตามที่แพทย์ต้องการเจาะ  พร้อมทำการรักษาด้วยความร้อน
หลังจากทำการตรวจเสร็จ  แพทย์จะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ยา หรือ Gauze และอาจใช้หมอนทรายกดทับเพื่อช่วยการห้ามเลือด
กรณีมี pneumothorax มากในช่องอก แพทย์จะใส่สาย drainage ขนาด 8F เพื่อลดอาการผู้ป่วย และดูดลมออกจนหมด
พยาบาลวัด Vital Sign หลังตรวจเสร็จ  พร้อมทั้งบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วย
เทคนิเชี่ยนตรวจความเรียบร้อยของผู้ป่วย  คิดเงินในแฟ้มประวัติผู้ป่วย  ลงทะเบียนในคอมพิวเตอร์  และส่งผู้ป่วยกลับ Ward

การดูแลหลังการทำ
ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจติดตามอาการในหอผู้ป่วยในต่อไปอีก 1-2 วัน
ผู้ป่วยจะเริ่มรับประทานอาหารปกติได้หลังจากวัดชีพจรและความดันโลหิตคงที่ติดต่อกันนาาน 4-6 ชั่วโมง
วิสัญญีแพทย์ยังคงให้ยาแก้ปวดทางหลอดเลือดดำต่อไปอีกหนึ่งวัน แต่จะค่อยๆลดปริมาณยาลงขณะเดียวกันจะเริ่มยาเป็นชนิดรับประทานจนกระทั่งไม่จำเป็นต้องให้ยาแก้ปวดทางรหลอดเลือดดำแล้วจึงกลับบบ้านได้
โดยทั่วไปแผลรูเข็มความร้อนจะสมานภายใน 2-3 วัน


กลับไปยังหน้า สารบัญบทความ