ป้ายกำกับ

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

การตรวจเลือดต่างๆ

ก่อนทำหัตถการทาง intervention บางอย่างอาจต้องตรวจเลือดวิเคราะห์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่่อภาวะไตวายหรือภาวะเลือดออกหยุดช้า ในที่นี่จะอธิบายค่าตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับงาน intervention พอสังเขป ดังต่อไปนี้

Bleeding Time คือการวัดระยะเวลาตั้งแต่เกิดบาดแผลจนกระทั่งเลือดหยุดนานเท่าใด ทำโดยการใช้ใบมีดปลายแหลมเล็ก ทำให้เกิดแผลรอยบากเล็กๆที่ปลายนิ้ว และเริ่มจับเวลา จากนั้นจะนำกระดาษกรองมาซับเลือดปลายนิ้วออกเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่เห็นเลือดซึมออกมาจากบาดแผลอีก บันทึกระยะเวลาเป็นหน่วยนาที
ค่าปกติ ระหว่าง 1 ถึง 9 นาที หากยาวนานกว่านี้ถือว่า เลือดเแข็งตัวช้าผิดปกติ 
มักมีปัจจัยจากเกร็ดเลือดทำงานบกพร่อง แก้ไขโดยการให้เกร็ดเลือด 
Creatinine (Cr) ค่าคริเอตินิน เป็นการวัดค่าการทำงานของไตซึ่งสามารถวัดได้จากน้ำเลือด โดยคริเอตินินเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากร่างกายในชีวิตประจำวันและมีค่าคงที่เนื่องจากไตสามารถขจัดออกทางปัสสาวะได้ทุกวัน แต่ในรายที่ไตบกพร่อง คริเอตินินในน้ำเลือดจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 
เราตรวจ คริเอตินิน เพื่อพิจารณาวางแผนการฉีดสารทึบรังสี (contrast media) ดังต่อไปนี้
ค่าปกติที่ยอมรับได้ของแผนกเราคือ Cr ต่ำกว่า 1.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้ใช้ contrast media ได้แก่ Ultravist, Xenetix, Optiray
ค่า  Cr ระหว่าง 1.5 ถึง 2.5  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้ใช้ Visipaque
ค่า Cr มากกว่า 2.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไม่ควรฉีด iodinate contrast media 

Partial Thromboplastin Time (PTT) พาเชียลโปรทรอมบิน ไทม์ คือ การวัดระยะเวลาที่เลือดจะแข็งตัวแบบหนึ่ง โดยทั่วไปมีค่าระหว่าง 25-35 วินาที แต่โดยทั่วไปจะเปรียบเทียบค่ากับ ค่าควบคุม (Control value) เป็นอัตราส่วน
ค่า PTT/control ที่ยอมรับได้ ต้องไม่เกิน 1.5 เท่า

Platelet count ค่า เพล็ตเล็ตเคานท์ คือ การวัดหาประมาณปริมาณเกร็ดเลือดต่อเลือดหนึ่งมิลลิลิตร หากเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติจะมีปัญหาต่อการแข็งตัวของเลือดได้
ค่าที่ยอมรับได้ ไม่น้อยกว่า 75,000 ตัวต่อเลือดหนึ่งมิลลิลิตร

Prothrombin time (PT) โปรทรอมบิน ไทม์ คือ การวัดระยะเวลาที่เลือดจะแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด จากองค์ประกอบภายนอกอีกประเภทหนึ่ง โดยทั่วไปจะมีค่าปกติอยู่ระหว่าง 12-13 วินาที แต่โดยทั่วไปขึ้นกับน้ำยาที่ใช้ตรวจซึ่งแตกต่างกันในแต่ละบริษัทผู้ผลิต จึงมีการหาอัตราส่วนเปรียบเทียบกับค่าปกติเฉลี่ย เรียกว่า International Normalized Ratio (INR) ซึ่งหาได้จาก ค่า prothrombin time ของผู้ป่วยหารด้วยค่า prothrombin time ปกติของน้ำยาทดสอบนั้น
ค่า INR ที่ยอมรับได้ของการทำหัตถการ คือ ไม่เกิน 1.5

กลับสู่หน้า >>>สารบัญ<<<

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

การเจาะกระดูกสันหลัง (Spine Biopsy)

ในกรณีที่แพทย์ตรวจเห็นรอยโรคในกระดูกสันหลังหรือข้อต่อกระดูกสันหลังและยังวินิจฉัยโรคไม่ได้ จำเป็นต้องเก็บเนื้อเยื่อจากรอยโรคเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังแผนภาพ
แผนภาพแสดงการเจาะกระดูกสันหลังเพื่อเก็บรอยโรค
เครื่องมือทางรังสีที่ใช้นำทางการสอดเข็มเข้าไปให้แม่นยำคือ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography Scanner)


การประเมินผู้ป่วยก่อนเจาะไต

ประเมินความเสี่ยงต่อการเสียเลือดมาก เช่น 

  • ภาวะที่เลือดออกหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟิลเลีย (Hemophilia), การทำงานของตับบกพร่อง (ตับแข็ง), ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ
  • ใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ Aspirin, ยา Antiplatelet อื่นๆ, Heparin, Warfarin ซึ่งหากแก้ไขภาวะนี้ได้ ก็สามารถทำการเจาะไตได้
ประเมินรอยโรคจากภาพ imaging ของผู้ป่วยเพื่อวางแผนหาทางสอดเข็มที่ปลอดภัยและเข้าถึงรอยโรคได้

ประเมินผลเลือด ได้แก่
Platelet count
Prothrombin time (PT) และ 
Partial Thromboplastin Time (PTT)
แต่กรณีผู้ป่วยที่ได้รับยา Aspirin หรือยาที่ฤทธิ์ต่อต้านการทำงานเกร็ดเลือดต้องตรวจผลเลือดคือ Bleeding time อีกด้วย
(หากจำค่าปกติผลเลือดไม่ได้ให้กลับมาดูบท "การตรวจเลือดต่างๆ" ตามลิงค์นี้  การตรวจเลือดต่างๆ

นัดหมายวันที่และเวลาที่มาเจาะกระดูก
ออกเอกสารความเข้าใจหัตถการให้ผู้ป่วยหรือญาติ
ออกเอกสารการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยและพยาบาลตึกผู้ป่วย
ตัวอย่างเอกสารเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการเจาะกระดูก
เนื่องจากหลังการเจาะกระดูกจำเป็นต้องเฝ้าระวังภาวะเลือดออกอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เราจึงต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยในในวันที่มาเจาะกระดูก จึงต้องเตรียมเอกสารสำหรับการเป็นผู้ป่วยในด้วย
กำชับให้พยาบาลผู้ป่วยในเตรียมหมอนทราย (น้ำหนัก 0.5 กก.)สำหรับกดทับแผลหลังการเจาะกระดูกด้วย

การเตรียมอุปกรณ์สำหรับเจาะกระดูก
1.    ใบเตรียมผู้ป่วย
2.    ใบเซนต์ยินยอมรับการตรวจ
Set ทำแผล (ประกอบด้วย ถาดสเตนเลส, forceps, ถ้วยสเตนเลสสำลี ก้อนก๊อส 10 แผ่นผ้าเจาะกลางไซริงแก้วขนาด10ซีซีขวดสเตอไรส์ขนาด 10ซีซี พร้อมฝาจุกยาง ขวดแผ่นสไลด์แก้วสำหรับสเมียร์ แผ่น พร้อมผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
Dressing set 

3.    ปากกาเขียนไวท์บอร์ด แบบ permanent (สำหรับทำเครื่องหมายบนผิวหนังผู้ป่วย)
4.   แถบ marker พร้อม scale ห่างช่องละ 1 ซม.
5.    ถุงมือ 6 นิ้วครึ่ง – 7 นิ้วครึ่ง
6.    เข็ม No.18 , 20 ,24 สำหรับดูดและฉีดยาชา
7.    พลาสเตอร์ยาปิดแผล 
8.    เข็ม Biopsy แบบ Osteotomy ขนาด 10G 
9.    Chlorhexidine solution 2%
10.  ใบมีดเบอร์ 11
11.   Formalin 10 % 1 ขวด ไว้แช่ชิ้นเนื้อ
12.  แผ่นสไลด์แก้ว สำหรับสเมียร์เซลล์
13.        เอกสารส่งเนื้อเยื่อ Histology 
14.         หมอนทรายไว้กดห้ามเลือด
  
อุปกรณ์เพิ่มเติม

1.    ค้อนสำหรับตอกเข็มเข้ากระดูก ในบางกรณีที่แพทย์เล็งเห็นว่ากระดูกน่าจะแข็งหรือมีความหนามาก อาจจำเป็นต้องใช้ค้อนตอกเข็มผ่านเข้าไปถึงรอยโรคได้
ค้อนสำหรับตอกกระดูก

วิธีตรวจ


1.    เตรียมผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจ ท่าคว่ำ หนุนหมอนเตี้ยๆไว้ใต้หน้าท้อง
2.    พยาบาลอธิบายขั้นตอนการตรวจให้ผู้ป่วยทราบ
3.    พยาบาลวัด Vital Sign และลงบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วยก่อนการตรวจและทำการยืนยันการตรวจ (time out) ให้ถูกคน ถูกตำแหน่ง
4.    แพทย์ทำการ Localized ด้วยเครื่อง CT  และทำ Marker ตำแหน่งที่จะเจาะด้วยปากกา
ผู้ป่วยนอนคว่ำ ติดแถบ scale marker ที่ผิวหนังด้านหลัง


สแกนด้วย CT 
ภาพ CT SCAN แนวขวางผ่านส่วนที่กระดูกสันหลังมีรอยโรค แพทย์จะวัดระยะและทิศทางที่จะสอดเข็มเข้าไปในกระดูกสันหลังเป้าหมย

5.    เทคนิเชี่ยนเปิด Set  ทำแผล
6.    เท Chlorhexidine Solution ใส่ถ้วย
7.    แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะด้วย Chlorhexidine Solution และปูผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยา เบต้าดีน
ปิดคลุมด้วยผ้าช่อง

8.    เทคนิเชี่ยนเตรียม 2 % Xylocaine  
9.    แพทย์ทำการฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะเจาะ 
ฉีดยาชาเฉพาะที่ 

 ขยายปากแผลด้วยใบมีดเบอร์ 11 
ขยายปากแผลด้วยใบมีดเบอร์ 11

แล้วนำเข็ม Biopsy ที่เตรียมไว้สอดเข้าไปเป้าหมาย โดยค่อยใ่ส่เข้าไปลึกทีละนิดสลับกับการสแกนภาพ CT เพื่อเช็คดูตำแหน่งและทิศทางของเข็มเปรียบเทียบกับเป้าหมาย 
   กรณีที่กระดูกมีความแข็งแพทย์จะใช้ค้อนช่วยตอกเข็มผ่านกระดูกปกติเข้าไปยังส่วนที่เป็นรอยโรค
สอดเข็ม  Osteotomy เข้าไปและ CT scan สลับกันไปจนกว่าจะได้ ตำแหน่งและทิศทางที่ถูกต้อง
ภาพ CT SCAN แนวขวาง (Axial) แสดงเข็ม biopsy เข้าไปอยู่ในกระดูกสันหลังที่เป็นโรค ยืนยันว่าเราจะเก็บเนื้อเยื่อตรงกับรอยโรค
ภาพ CT SCAN อีกแนวหนึ่ง ยืนยันว่าปลายเข็มอยู่ตรงรอยโรคแล้ว

เมื่อเข็มเข้าไปถึงเป้าหมายแล้วแพทย์จะถอดแกนในของเข็ม Osteotomy ออกและดันเข็มเข้าไปในกระดูกที่เป็นรอยโรค ต่อไซริงค์สำหรับดูดและค่อยๆถอยเข็มออกเพื่อให้เนื้อเยื่อติดเข็มออกมา หากเนื้อเยื่อเพียงพอแล้วก็ไม่ต้องทำซ้ำ 
นำแกนในเข็มออก แล้วต่อไซริงค์เข้ากับเข็มและดูดเนื้อให้ติดเข้ามาในรูเข็ม
ถอยเข็มออกและกดบาดแผลไว้จนกระทั่งเลือดหยุด (ประมาณ 5 นาที)
กดบาดแผลเพื่อห้ามเลือดจนกว่าจะหยุด
บาดแผลจะมีขนาดเล็ก ไม่จำเป็นต้องเย็บแผล
หลังจากเอาเข็ม Osteotomy ออกรูบาดแผลขนาดเล็ก

ปิดพลาสเตอร์ทับแผลไว้และใช้หมอนทรายกดทับเพื่อช่วยในการลดอัตราการเสียเลือด
ปิดพลาสเตอร์คลุมแผล

เนื้อเยื่อที่ได้อยู่ในรูเข็ม แพทย์จะสอดแกนเข็มเข้าไปดันเนื้อออกมาเพื่อส่งตรวจดังนี้
ส่งย้อม gram stain หรือ AFB สเมียร์ลงในแผ่นสไลด์แก้ว
ส่งเพาะเชื้อ ให้เก็บไว้ในขวดแก้วปราศจากเชื้อ 
ส่ง Histology ให้เก็บไว้ในน้ำยา Formalin
เนื้อกระดูกที่เก็บในน้ำยา Formalin เตรียมติดชื่อ เลขที่ผู้ป่วยวันเวลารอส่ง H&E 

10. พยาบาลวัด Vital Sign หลังตรวจเสร็จ  พร้อมทั้งบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วย

11.แพทย์เขียนเอกสารส่งตรวจเนื้อเยื่อ คำสั่งดูแลผู้ป่วยหลังการเจาะไต, ป้อนคำสั่งส่งตรวจเนื้อเยื่อผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์, และพิมพ์รายงานการทำหัตถการ
12. ส่งผู้ป่วยกลับตึกผู้ป่วยใน

กลับสู่หน้า สารบัญ





วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

การเจาะไต (Renal Biopsy)

Percutaneous Renal Biopsy หรือ kidney biopsy คือ การเจาะเก็บเนื้อเยื่อจากไตเพื่อส่งตรวจวินิจฉัยทางเนื้อเยื่อหรือเซลล์วิทยา (Histology or Cytology) โดยสอดเข็มจากภายนอกร่างกายผ่านผิวหนังเข้าไปที่ไต ดังแผนภาพด้านล่าง
แผนภาพแสดงการเจาะไต


ข้อบ่งชี้ในการเจาะไต

1. ยืนยันชนิดของไตอักเสบ ซึ่งโดยมากจะเก็บเนื้อเยื่อจากส่วนล่างของไต
2. รอยโรคเฉพาะที่ในไต เช่น เนื้องอก หรือรอยผิดปกติที่สงสัยเนื้องอก กรณีนี้ต้องสอดเข็มเข้าไปตรงรอยโรคนั้นๆ

การประเมินผู้ป่วยก่อนเจาะไต

ประเมินความเสี่ยงต่อการเสียเลือดมาก เช่น 

  • ภาวะที่เลือดออกหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟิลเลีย (Hemophilia), การทำงานของตับบกพร่อง (ตับแข็ง), ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ
  • ใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ Aspirin, ยา Antiplatelet อื่นๆ, Heparin, Warfarin ซึ่งหากแก้ไขภาวะนี้ได้ ก็สามารถทำการเจาะไตได้
ประเมินรอยโรคจากภาพ imaging ของผู้ป่วยเพื่อวางแผนหาทางสอดเข็มที่ปลอดภัยและเข้าถึงรอยโรคได้

ประเมินผลเลือด ได้แก่
Platelet count
Prothrombin time (PT)
Partial Thromboplastin Time (PTT)
แต่กรณีผู้ป่วยที่ได้รับยา Aspirin หรือยาที่ฤทธิ์ต่อต้านการทำงานเกร็ดเลือดต้องตรวจผลเลือดคือ Bleeding time อีกด้วย
นัดหมายวันที่และเวลาที่มาเจาะไต 
ออกเอกสารความเข้าใจหัตถการให้ผู้ป่วยหรือญาติ
ออกเอกสารการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยและพยาบาลตึกผู้ป่วย
ตัวอย่างเอกสารเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการเจาะไต
เนื่องจากหลังการเจาะไตจำเป็นต้องเฝ้าระวังภาวะเลือดออกอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เราจึงต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยในในวันที่มาเจาะไต จึงต้องเตรียมเอกสารสำหรับการเป็นผู้ป่วยในด้วย
กำชับให้พยาบาลผู้ป่วยในเตรียมหมอนทราย (น้ำหนัก 0.5 กก.)สำหรับกดทับแผลหลังการเจาะไตด้วย

การเตรียมอุปกรณ์สำหรับเจาะไต
1.    ใบเตรียมผู้ป่วย
2.    ใบเซนต์ยินยอมรับการตรวจ
Set ทำแผล (ประกอบด้วย ถาดสเตนเลส, forceps, ถ้วยสเตนเลสสำลี ก้อนก๊อส 10 แผ่นผ้าเจาะกลางไซริงแก้วขนาด10ซีซีขวดสเตอไรส์ขนาด 10ซีซี พร้อมฝาจุกยาง ขวดแผ่นสไลด์แก้วสำหรับสเมียร์ แผ่น พร้อมผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
Dressing set 

3.    ปากกาเขียนไวท์บอร์ด แบบ permanent (สำหรับทำเครื่องหมายบนผิวหนังผู้ป่วย)
4.    ถุงมือ 6 นิ้วครึ่ง – 7 นิ้วครึ่ง
5.    เข็ม No.18 , 20 ,24 สำหรับดูดและฉีดยาชา
6.    พลาสเตอร์ยาปิดแผล 
7.    ถุงพลาสติกสเตอไรด์ไว้หุ้ม probe ultrasound พร้อมด้วยยางรัดธรรมดา
8.    เข็ม Biopsy แบบ automate trucut (Hunter biopsy Needle) 16G 

Hunter biopsy Needle 16G

9.    Chlorhexidine solution 2%
10.          Sterilized ultrasound Jelly (กรณีใช้ ultrasound guide procedure)
11.          ใบมีดเบอร์ 11
12.         Formalin 10 % 1 ขวด ไว้แช่ชิ้นเนื้อ
13.        เอกสารส่งเนื้อเยื่อ Histology 
14.         หมอนทรายไว้กดห้ามเลือด  
15.         กรณีที่ต้องส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น Immunofluorescence หรือ Electronmicroscopy ต้องเตรียมเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการให้นำกระดาษฟลอยด์สำหรับใส่ชิ้นเนื้อและแช่ในน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice) ด้วย

วิธีตรวจ


1.    เตรียมผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจ ท่าคว่ำ หนุนหมอนเตี้ยๆไว้ใต้หน้าท้อง
2.    พยาบาลอธิบายขั้นตอนการตรวจให้ผู้ป่วยทราบ
3.    พยาบาลวัด Vital Sign และลงบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วยก่อนการตรวจ
4.    แพทย์ทำการ Localized ด้วยเครื่อง US  และทำ Marker ตำแหน่งที่จะเจาะด้วยปากกา
5.    เทคนิเชี่ยนเปิด Set  ทำแผล
6.    เท Chlorhexidine Solution ใส่ถ้วย
7.    แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะด้วย Chlorhexidine Solution และปูผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
8.    เทคนิเชี่ยนเตรียม 2 % Xylocaine  ให้แพทย์ ห่อหุ้ม Ultrasound prob ด้วย ถุงพลาสติกสเตอไรล์
9.    แพทย์ทำการฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะเจาะ  ขยายปากแผลด้วยใบมีดเบอร์ 11 แล้วนำเข็ม Biopsy ที่เตรียมไว้สอดเข้าไปเป้าหมาย และตัดเนื้อเยื่อออกมา แช่ในน้ำยา Formalin
10.          หลังจากทำการตรวจเสร็จ  แพทย์จะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ยา หรือ Gauze และใช้หมอนทรายกดทับเพื่อช่วยการห้ามเลือด
11.          พยาบาลวัด Vital Sign หลังตรวจเสร็จ  พร้อมทั้งบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วย

12.          แพทย์เขียนเอกสารส่งตรวจเนื้อเยื่อ คำสั่งดูแลผู้ป่วยหลังการเจาะไต, ป้อนคำสั่งส่งตรวจเนื้อเยื่อผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์, และพิมพ์รายงานการทำหัตถการ
13. ส่งผู้ป่วยกลับตึกผู้ป่วยใน

กลับสู่หน้า สารบัญ



การเจาะตับ (Liver Biopsy)

Percutaneous Liver Biopsy คือ การเจาะเก็บเนื้อเยื่อจากตับเพื่อส่งตรวจวินิจฉัยทางเนื้อเยื่อหรือเซลล์วิทยา (Histology or Cytology) โดยสอดเข็มจากภายนอกร่างกายผ่านผิวหนังเข้าไปยังรอยโรคในตับ ดังแผนภาพด้านล่าง


แผนภาพแสดงการเจาะเก็บเนื้อเยื่อจากตับส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
ข้อบ่งชี้ในการเจาะตับ

1. ประเมินภาวะตับอักเสบ ซึ่งการอักเสบเกิดทั่วทั้งตับ ดังนั้นการสอดเข็มเข้าไปเพื่อเจาะเก็บเนื้อตับบริเวณใดก็ได้
2. รอยโรคเฉพาะที่ในตับ เช่น เนื้องอก หรือรอยผิดปกติที่สงสัยเนื้องอก กรณีนี้ต้องสอดเข็มเข้าไปตรงรอยโรคนั้นๆ

การประเมินผู้ป่วยก่อนเจาะตับ

ประเมินความเสี่ยงต่อการเสียเลือดมาก เช่น 

  • ภาวะที่เลือดออกหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟิลเลีย (Hemophilia), การทำงานของตับบกพร่อง (ตับแข็ง), ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ
  • ใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ Aspirin, NSAID และยาต้านเกร็ดเลือดอื่นๆ, Heparin, Warfarin ซึ่งหากแก้ไขภาวะนี้ได้ ก็สามารถทำการเจาะตับได้
  • ภาวะมีน้ำในช่องท้อง (Ascites) 
ประเมินรอยโรคจากภาพ imaging ของผู้ป่วยเพื่อวางแผนหาทางสอดเข็มที่ปลอดภัยและเข้าถึงรอยโรคได้

ประเมินผลเลือด ได้แก่
Platelet count
Prothrombin time (PT)
Partial Thromboplastin Time (PTT)
แต่กรณีผู้ป่วยที่ได้รับยา Aspirin หรือยาที่ฤทธิ์ต่อต้านการทำงานเกร็ดเลือดต้องตรวจผลเลือดคือ Bleeding time อีกด้วย
นัดหมายวันที่และเวลาที่มาเจาะตับ 
ออกเอกสารความเข้าใจหัตถการให้ผู้ป่วยหรือญาติ
ออกเอกสารการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยและพยาบาลตึกผู้ป่วย
ตัวอย่างเอกสารเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการเจาะตับ
เนื่องจากหลังการเจาะตับจำเป็นต้องเฝ้าระวังภาวะเลือดออกอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เราจึงต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยในในวันที่มาเจาะตับ จึงต้องเตรียมเอกสารสำหรับการเป็นผู้ป่วยในด้วย
กำชับให้พยาบาลผู้ป่วยในเตรียมหมอนทราย (น้ำหนัก 0.5 กก.)สำหรับกดทับแผลหลังการเจาะตับด้วย

การเตรียมอุปกรณ์สำหรับเจาะตับ
1.    เอกสารเตรียมผู้ป่วย
2.    เอกสารเซนต์ยินยอมรับการตรวจ
Set ทำแผล (ประกอบด้วย ถาดสเตนเลส, forceps, ถ้วยสเตนเลส, สำลี 6 ก้อน, ก๊อส 10 แผ่น, ผ้าเจาะกลาง, ไซริงแก้วขนาด10ซีซี, ขวดสเตอไรส์ขนาด 10ซีซี พร้อมฝาจุกยาง 3 ขวด, แผ่นสไลด์แก้วสำหรับสเมียร์ 3 แผ่น พร้อมผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
3.    ปากกาเขียนไวท์บอร์ด แบบ permanent (สำหรับทำเครื่องหมายบนผิวหนังผู้ป่วย)
4.    ถุงมือ 6 นิ้วครึ่ง – 7 นิ้วครึ่ง
5.    เข็ม No.18 , 20 ,24
6.    พลาสเตอร์ยาปิดแผล
7.    ถุงพลาสติกสเตอไรด์ไว้หุ้ม probe ultrasound พร้อมด้วยยางรัดธรรมดา
8.    เข็ม Biopsy (Co-axial biopsy Needle) 16G or 18 G
9.    Chlorhexidine solution 2%
10.          Sterilized ultrasound Jelly (กรณีใช้ ultrasound guide procedure)
11.          ใบมีดเบอร์ 11
12.          Alcohol 95 % 1 ขวด  ไว้ฟิกซ์เซลในแผ่นสไลด์
13.          Formalin 10 % 1 ขวด ไว้แช่ชิ้นเนื้อ
14.          เอกสารส่งเนื้อเยื่อ Histology
15.          หมอนทรายไว้กดห้ามเลือด

วิธีตรวจ


1.    เตรียมผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจ
2.    พยาบาลอธิบายขั้นตอนการตรวจให้ผู้ป่วยทราบ
3.    พยาบาลวัด Vital Sign และลงบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วยก่อนการตรวจ
4.    แพทย์ทำการ Localized ด้วยเครื่อง US  และทำ Marker ตำแหน่งที่จะเจาะด้วยปากกา

5.    เทคนิเชี่ยนเปิด Set  ทำแผล
6.    เท Chlorhexidine Solution ใส่ถ้วย
7.    แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะด้วย Chlorhexidine Solution 

และปูผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง

8.    เทคนิเชี่ยนเตรียม 2 % Xylocaine  ให้แพทย์ดูดจากขวดบรรจุเข้าไซริงค์


ห่อหุ้ม Ultrasound prob ด้วย ถุงพลาสติกสเตอไรล์
ผู้ช่วยรวบชายถุงพลาสติกให้เรียวเล็กและพันเทปไว้
9.    แพทย์ทำการฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะเจาะ

  ขยายปากแผลด้วยใบมีดเบอร์ 11

 แล้วนำเข็ม Co-axial Biopsy อันนอก ที่เตรียมไว้สอดเข้าไปยังเป้าหมาย


ดูจากภาพอัลตร้าซาวดน์เห็นปลายเข็มเข้าถึงขอบของก้อนเนื้องอก

สอดเข็ม biopsy อันในผ่านรูเข็มอันนอกเข้าไปถึงตัวก้อนและ 
และตัดเนื้อเยื่อออกมา

เห็นจากจอภาพว่าปลายเข็มเข้าไปในก้อนเนื้องอก

ถอนเข็ม biopsy ตัวในออก เขี่ยชิ้นเนื้อออก

แช่ในน้ำยา Formalin

เข็มแกนนอกยังคงคาอยู่ในผู้ป่วย เพื่อให้สามารถสอดเข็ม biopsy เข้าด้านไปเก็บเนื้อเยื่อได้อีก

10.          หลังจากทำการตรวจเสร็จ  แพทย์จะถอดเข็มออกและใช้มือกดบาดแผลเพื่อห้ามเลือดออก

ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ยา หรือ Gauze 

และใช้หมอนทรายกดทับเพื่อช่วยการห้ามเลือด

11.          พยาบาลวัด Vital Sign หลังตรวจเสร็จ  พร้อมทั้งบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วย

12.          แพทย์เขียนเอกสารส่งตรวจเนื้อเยื่อ คำสั่งดูแลผู้่ป่วยหลังการเจาะตับ, ป้อนคำสั่งส่งตรวจเนื้อเยื่อผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์, และพิมพ์รายงานการทำหัตถการ
13. ส่งผู้ป่วยกลับตึกผู้ป่วยใน

กลับสู่หน้า สารบัญ