ป้ายกำกับ

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

การเจาะเก็บเนื้อเยื่อจากทรวงอก

รอยโรคในทรวงอก บางอย่างที่สงสัยจะเป็นเนื้องอกหรือรอยอักเสบ จำเป็นต้องเก็บเนื้อเยื่อพิสูจน์เพื่อที่จะทราบแนวทางที่ดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป
วิทยาการก้าวหน้าด้านเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่วยให้การเจาะเก็บเนื้อเยื่อผ่านจากภายนอกร่างกายเข้าถึงตัวรอยโรคได้อย่างแม่นยำ

การนัดทำหัตถการ
เจ้าหน้าที่หรือแพทย์เจ้าของไข้แจ้งมายังแผนก Imaging 
แผนก Imaging ทบทวนประวัติและภาพเอกซเรย์ของผู้ป่วยเพื่อวางแผนการเตรียมตัว พร้อมกับแจ้งวันที่และเวลานัดทำหัตถการ

ตัวอย่างเอกสารการเตรียมตัวผู้ป่วย
อุปกรณ์และเครื่องมือ
เอกสารเตรียมผู้ป่วย
เอกสารเซนต์ยินยอมรับการตรวจ
เซตเจาะ(ประกอบด้วย ถาดสเตนเลด,forcep, ถ้วยใส่เบตาดีน, สำลี 6 ก้อน, ก๊อส 20 แผ่น, ผ้าช่องเจาะกลาง, ไซริงพลาสติกขนาด10ซีซี, ขวดสเตอไรล์ขนาด 10ซีซี พร้อมฝาจุกยาง 3 ขวด, แผ่นสไลด์แก้วสำหรับสเมียร์ 3 แผ่น)
ถุงมือสเตอไรล์ เบอร์ 7-7 1/2
ปากกาเขียนไวท์บอร์ด แบบ permanent
แถบ marker ทีบรังสีที่มีช่องห่างระหว่างแถบๆละ 1 เซนติเมตร
Betadine solution หรือ 2% Chlorhexidine solution (Hibitaine)
เข็มฉีดยาเบอร์ 18, 24
เข็ม Temno Co-axial biopsy system(biopsy needle size 20G X 15cm Introducer needle size 19G X 10cm)
เข็ม Chiba needle ขนาด 20G X 20cm, 22G (สำรองไว้กรณีที่อยู่ลึก)
ยาชา xylocain 1%
ถุงพลาสติกสเตอไรด์ไว้หุ้ม probe ultrasound พร้อมด้วยยางเส้นรัดธรรมดา (กรณี ultrasound guided biopsy)
Sterilized ultrasound jelly (กรณี ultrasound guided biopsy)
เครื่อง fluoroscopy หรือ digital subtraction imaging
เครื่อง CT SCANNER
ใบมีดเบอร์ 11
Syringe พลาสติก ขนาด 10 ml
พลาสเตอร์ปิดแผลชนิดม้วน


ขั้นตอนการทำ CT guided Biopsy โดยสังเขป

จัดให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตามแต่ที่แพทย์ระบุ
ติดแถบเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่ผิวหนังผู้ป่วยตามตำแหน่งที่แพทย์ต้องการ
สแกนภาพผ่านรอยโรคเพื่อวางแผนระยะที่จะสอดเข็มผ่านทางผิวหนังเข้าไปยังรอยโรค
แพทย์จะคำนวณระยะและทิศทางที่จะใส่เข็มโดยอ้างอิงกับภาพสแกนและเครื่องหมายระบุตำแหน่ง
แพทย์ระบุเข็มที่จะใช้สำหรับเจาะ
เจ้าหน้าที่ช่วยเปิดเครื่องมือสำหรับการเจาะและเข็มพิเศษที่จะใช้
ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วคลุมด้วยผ้าช่อง
ฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าผิวหนังผู้ป่วย
สแกนตำแหน่งเข็มยาชาอีกครั้งตรวจสอบว่าทางเข้าเข็มเป็นดังที่ต้องการ
ขยายปากแผลด้วยใบมีด
นำเข็มที่ใช้เจาะแทนที่เข็มยาชา สแกนภาพและปรับตำแหน่งเข็มเป็นระยะๆจนกระทั่งได้ตำแหน่งปลายเข็มถึงขอบของรอยโรค
เจาะเก็บเนื้อเยื่อเท่าที่ต้องการ
สแกนภาพครั้งสุดท้ายหลังจากนำเข็มออกจากร่างกาย

การเก็บรักษาเนื้อเยื่อ
Histology เก็บใน Formalin กรณีได้เนื่อเยื่อชิ้นโตพอ
Cytology ป้ายสไลด์แก้ว สเมียร์ และจุ่มใน 95% Ethanol ในกรณีได้เนื้อเยื่อน้อย
Gram’s stain และ AFB stain ป้ายสไลด์แก้ว ทิ้งไว้ให้แห้ง
Culture เก็บไว้ในขวดแก้ว sterile
Anaerobic culture จุ่มลงใน media (ขอห้องแลบล่วงหน้า)


การดูแลหลังการเจาะ
หลังการเจาะจะสแกนหาลมรั่วในช่องอกด้วย CT Scan ทันทีหนึ่งครั้ง
กรณีไม่พบลมรั่ว (Pneumothorax) หรือมีน้อยกว่า 30% และผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อย จะสังเกตอาการและดูแลดังนี้
ผู้ป่วยนอนหันด้านที่มีรูเจาะลงด้านล่าง
ให้ออกซิเจนสูดดมทางจมูก (oxygen cannula) อัตราเร็ว 5 ลิตรต่อนาที (แล้วแต่แพทย์จะพิจารณาให้กรณีมีลมรั่ว)
ตรวจวัดชีพจร ความดันโลหิตและ oxygen saturation ทุกครึ่งชั่วโมงเป็นเวลาสี่ชั่วโมง
เมื่อครบเวลาสี่ชั่วโมง หากผู้ป่วยไม่เหนื่อยและสแกนเอกซเรย์ทรวงอกไม่พบลมรั่วเพิ่มขึ้นแสดงว่าอาการคงที่ ผู้ป่วยจึงกลับบ้านได้
แนะนำว่าหากมีอาการเหนื่อยขึ้นหายใจขัดให้กลับมาโรงพยาบาล
แผลที่ปิดไว้นาน 24 ชั่วโมงก็เปิดออกได้

กรณีพบลมรั่วมากกว่า 30% และผู้ป่วยอาการเหนื่อย
แพทย์จะใช้เข็มเล็กเจาะเข้าในช่องอกและดูดลมออกให้มากที่สุดและสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในอีก 30 นาทีถัดไปว่าเกิดลมรั่วมากอีกหรือไม่ ถ้ายังมากขึ้นอีกก็จำเป็นต้องเจาะดูดออกอีก หากลมรั่วลดลงมากแล้วจะสังเกตอาการดังกล่าวข้างต้นจนครบสี่ชั่วโมงและให้กลับบ้านได้

หากยังเป็นซ้ำๆ แพทย์อาจพิจารณาใส่ท่อระบายลมรั่วคาไว้และรับไว้เป็นผู้ป่วยใน

กลับสู่หน้า สารบัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พิมพ์คำถามหรือข้อเสนอแนะที่นี่

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น