Bleeding Time คือการวัดระยะเวลาตั้งแต่เกิดบาดแผลจนกระทั่งเลือดหยุดนานเท่าใด ทำโดยการใช้ใบมีดปลายแหลมเล็ก ทำให้เกิดแผลรอยบากเล็กๆที่ปลายนิ้ว และเริ่มจับเวลา จากนั้นจะนำกระดาษกรองมาซับเลือดปลายนิ้วออกเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่เห็นเลือดซึมออกมาจากบาดแผลอีก บันทึกระยะเวลาเป็นหน่วยนาที
ค่าปกติ ระหว่าง 1 ถึง 9 นาที หากยาวนานกว่านี้ถือว่า เลือดเแข็งตัวช้าผิดปกติ
มักมีปัจจัยจากเกร็ดเลือดทำงานบกพร่อง แก้ไขโดยการให้เกร็ดเลือดCreatinine (Cr) ค่าคริเอตินิน เป็นการวัดค่าการทำงานของไตซึ่งสามารถวัดได้จากน้ำเลือด โดยคริเอตินินเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากร่างกายในชีวิตประจำวันและมีค่าคงที่เนื่องจากไตสามารถขจัดออกทางปัสสาวะได้ทุกวัน แต่ในรายที่ไตบกพร่อง คริเอตินินในน้ำเลือดจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เราตรวจ คริเอตินิน เพื่อพิจารณาวางแผนการฉีดสารทึบรังสี (contrast media) ดังต่อไปนี้
ค่าปกติที่ยอมรับได้ของแผนกเราคือ Cr ต่ำกว่า 1.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้ใช้ contrast media ได้แก่ Ultravist, Xenetix, Optiray
ค่า Cr ระหว่าง 1.5 ถึง 2.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ให้ใช้ Visipaque
ค่า Cr มากกว่า 2.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไม่ควรฉีด iodinate contrast media
Partial Thromboplastin Time (PTT) พาเชียลโปรทรอมบิน ไทม์ คือ การวัดระยะเวลาที่เลือดจะแข็งตัวแบบหนึ่ง โดยทั่วไปมีค่าระหว่าง 25-35 วินาที แต่โดยทั่วไปจะเปรียบเทียบค่ากับ ค่าควบคุม (Control value) เป็นอัตราส่วน
ค่า PTT/control ที่ยอมรับได้ ต้องไม่เกิน 1.5 เท่า
Platelet count ค่า เพล็ตเล็ตเคานท์ คือ การวัดหาประมาณปริมาณเกร็ดเลือดต่อเลือดหนึ่งมิลลิลิตร หากเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติจะมีปัญหาต่อการแข็งตัวของเลือดได้
ค่าที่ยอมรับได้ ไม่น้อยกว่า 75,000 ตัวต่อเลือดหนึ่งมิลลิลิตร
Prothrombin time (PT) โปรทรอมบิน ไทม์ คือ การวัดระยะเวลาที่เลือดจะแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด จากองค์ประกอบภายนอกอีกประเภทหนึ่ง โดยทั่วไปจะมีค่าปกติอยู่ระหว่าง 12-13 วินาที แต่โดยทั่วไปขึ้นกับน้ำยาที่ใช้ตรวจซึ่งแตกต่างกันในแต่ละบริษัทผู้ผลิต จึงมีการหาอัตราส่วนเปรียบเทียบกับค่าปกติเฉลี่ย เรียกว่า International Normalized Ratio (INR) ซึ่งหาได้จาก ค่า prothrombin time ของผู้ป่วยหารด้วยค่า prothrombin time ปกติของน้ำยาทดสอบนั้น
ค่า INR ที่ยอมรับได้ของการทำหัตถการ คือ ไม่เกิน 1.5
กลับสู่หน้า >>>สารบัญ<<<
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
พิมพ์คำถามหรือข้อเสนอแนะที่นี่
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น