ป้ายกำกับ

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเจาะดูดน้ำในช่องอก Pleural Aspiration

ช่องอกคืออะไร?

โดยปกติช่องอกซ้ายและขวาจะบรรจุปอดไว้ซึ่งขณะที่ปอดขยายเต็มที่ปกติจะมีเพียงน้ำขังเป็นฟิล์มเคลือบบางๆในช่องว่างนี้ล้อมรอบปอดเท่านั้น ดังรูปด้านล่าง (C คือช่องว่างในอกซ้ายปกติ)
ภาพแสดงช่องอกของคน A คือปอดข้างขวาที่ถูกน้ำในช่องอกที่มากผิดปกติกดดันจนเล็กลง (B) คือน้ำในช่องอกที่เพิ่มผิดปกติ C คือช่องอกข้างซ้ายที่ปกติจะเป็นเพียงน้ำเล็กน้อย D คือปอดข้างซ้ายซึ่งปกติ

ภาวะมีน้ำขังในช่องอก คือ มีปริมาณของเหลวในช่องอกเพิ่มมากผิดปกติจนกระทั่งดันให้ปอดขยายตัวได้น้อยลงๆ ดังภาพด้านบน ซึ่งช่องอกด้านขวามีน้ำเพิ่มขึ้น (B)

สาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดน้ำเพิ่มในช่องอก ซึ่งในบทความนี้จะไม่กล่าวรายละเอียด

ทำไมถึงต้องเจาะเอาน้ำในช่องอก?

ข้อบ่งชี้หลักที่แพทย์ต้องการให้เจาะน้ำในช่องอกคือ 
1. เพื่อนำของเหลวนั้นไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
2. เพื่อบรรเทาอาการเหนื่อยจากภาวะปอดขยายตัวไม่ดี
3. เพื่อบรรเทาภาวะติดเชื้อที่ขังอยู่ภายในช่องอก

การเตรียมตัวก่อนเจาะดูดน้ำในช่องอก


แพทย์ผู้เจาะจะทบทวนประวัติเจ็บป่วยผู้ป่วย 
น้ำในช่องอกข้างใดบ้างมากเพียงพอจะเจาะออกหรือไม่  
จุดประสงค์ของการดูดน้ำในช่องอกครั้งนี้ว่าจะส่งตรวจอะไรบ้าง เพื่อเตรียมภาชนะบรรจุทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม
ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยากหรือไม่ เช่น กำลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น มีค่าเกร็ดเลือดเท่าไร ค่าการแข็งตัวของเลือดเท่าไร (PT, PTT)
ผู้ป่วยสามารถนั่งได้หรือไม่ เพื่อวางแผนการเจาะในท่าทางที่เป็นไปได้
ไม่ต้องสั่งงดอาหารหรือน้ำ

คำแนะนำผู้ป่วยหรือญาติ

ดูคำแนะนำผู้ป่วยหรือญาติ ที่นี่
เครื่องมือและอุปกรณ์

  เครื่องอัลตร้าซาวนด์หัวตรวจความถี่ 1-5 MHZ (หัวโค้ง)
-          ปากกาหมึก permanent สำหรับทำเครื่องหมายบนผิวหนัง
-          ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ sterile สำหรับห่อหุ้มหัวตรวจอัลตร้าซาวดน์พร้อมยางรัด sterile
-          เข็ม sheath needle (Jelgo) ขนาด 18G X ยาว 32 mm, ขนาด 16G X ยาว 50 mm. หรือเข็ม  spinal needle 18G X ยาว 100 mm
-            Dressing set
-            ผ้าช่อง
-            Ultrasound jelly
             2% Hibitaine solution
-            Xylocain 2% with adrenaline
-            Syringe ขนาด 10 ml, 20 ml, 50 ml แล้วแต่ปริมาณน้ำประมาณไว้
-            เข็มยาชาเบอร์ 18G and 24G
             ขวด sterile สำหรับเก็บของเหลวส่งตรวจ
             ขวด 50 ml สำหรับใส่น้ำส่งตรวจ cytology
             ขวด 1,000 ml ไม่ต้อง sterile สำหรับบรรจุของเหลวที่ต้องการระบายทิ้งหรือส่งตรวจ cytology

วิธีการเจาะน้ำในช่องอก

-            หากผู้ป่วยนั่งได้ให้ทำในท่านั่ง
             แพทย์ทำอัลตร้าซาวดน์หาตำแหน่งของเพื่อเอาหมึกระบุตำแหน่งบนผิวหนัง
แพทย์ใช้อัลตร้าซาวนด์ตรวจหาตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะสอดเข็มเข้าไปหาน้ำในช่องอก

-            
ภาพอัลตร้าซาวดน์แสดงน้ำในช่องอก (E) 


              แพทย์ทำความสะอาดผิวหนังด้วย Hibitaine solution
-            คลุมส่วนที่สะอาดด้วยผ้าช่อง
-            หุ้มหัวตรวจอัลตร้าวซาวนด์ด้วยพลาสติกใส sterile และรัดด้วยยางรัด
-            ฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าผิวหนัง
-            สอดเข็มที่ใช้เจาะ เข้าหาน้ำในช่องอก
-            บันทึกภาพที่เข็มฝังอยู่ในตัวก้อน
           
ภาพอัลตราซาวดน์ตำแหน่งชายโครงขวาล่าง แสดงให้เห็นตัวเข็มเป็นแส้นตรงสว่าง (ลูกศรชี้) ที่แทงจากผิวหนังผ่านเนื้อเยื่อจนปลายเข้ามาอยู่ท่ามกลางน้ำในช่องอก
 

จากจออัลตร้าซาวดน์ เมื่อแพทย์เห็นปลายเข็มเข้าไปอยู่ในน้ำแล้ว ก็จะถอนแกนเข็มออกเหลือเพียงท่อพลาสติกคาไว้ 
-           ต่อท่อกับ 3-way-stop-cock และใช้ syringe ดูดน้ำออกจากช่องอก เก็บไว้ในขวดหรือภาชนะที่เตรียมไว้
            หากมีการระบายน้ำลงขวดใหญ่ แพทย์จะขอให้ต่อ extension tube ปล่อยให้น้ำไหลลงขวดภาชนะใหญ่จนได้ปริมาณที่ตั้งใจ 
แผนภาพแสดงการเจาะน้ำในช่องอกขวา ระบายลงภาชนะเก็บ A คือเข็มเจาะ B คือสายยางเชื่อมต่อเข็มกับภาชนะกักเก็บ C คือภาชนะกักเก็บ

-            ถอดท่อออก
             ปิดแผลด้วยผ้าก๊อสสะอาดและพลาสเตอร์กันน้ำ 
             ส่งผู้ป่วยถ่ายเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อตรวจหาลมรั่วในช่องอกและเปรียบเทียบปริมาณน้ำในช่องอกก่อนและหลังการเจาะ
ภาพเอกซเรย์ทรวงอกเปรียบเทียบน้ำในช่องอกขวา ก่อนเจาะ (Pre-aspiration) และหลังเจาะ (Post-aspiration) จะสังเกตเห็นว่าระดับน้ำในช่องอกข้างขวาลดลงอย่างมาก


       ถ้าไม่พบลมรั่วในช่องอก แพทย์อนญาตให้ส่งผู้ป่วยกลับได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พิมพ์คำถามหรือข้อเสนอแนะที่นี่

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น