แผนภาพแสดงการเจาะกระดูกสันหลังเพื่อเก็บรอยโรค |
การประเมินผู้ป่วยก่อนเจาะไต
ประเมินความเสี่ยงต่อการเสียเลือดมาก เช่น
- ภาวะที่เลือดออกหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟิลเลีย (Hemophilia), การทำงานของตับบกพร่อง (ตับแข็ง), ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ
- ใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ Aspirin, ยา Antiplatelet อื่นๆ, Heparin, Warfarin ซึ่งหากแก้ไขภาวะนี้ได้ ก็สามารถทำการเจาะไตได้
ประเมินผลเลือด ได้แก่
Platelet count
Prothrombin time (PT) และ
Partial Thromboplastin Time (PTT)
แต่กรณีผู้ป่วยที่ได้รับยา Aspirin หรือยาที่ฤทธิ์ต่อต้านการทำงานเกร็ดเลือดต้องตรวจผลเลือดคือ Bleeding time อีกด้วย(หากจำค่าปกติผลเลือดไม่ได้ให้กลับมาดูบท "การตรวจเลือดต่างๆ" ตามลิงค์นี้ การตรวจเลือดต่างๆ
นัดหมายวันที่และเวลาที่มาเจาะกระดูก
ออกเอกสารความเข้าใจหัตถการให้ผู้ป่วยหรือญาติ
ออกเอกสารการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยและพยาบาลตึกผู้ป่วย
ตัวอย่างเอกสารเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการเจาะกระดูก |
กำชับให้พยาบาลผู้ป่วยในเตรียมหมอนทราย (น้ำหนัก 0.5 กก.)สำหรับกดทับแผลหลังการเจาะกระดูกด้วย
การเตรียมอุปกรณ์สำหรับเจาะกระดูก
1. ใบเตรียมผู้ป่วย
2. ใบเซนต์ยินยอมรับการตรวจ
Set ทำแผล (ประกอบด้วย ถาดสเตนเลส, forceps, ถ้วยสเตนเลส, สำลี 6 ก้อน, ก๊อส 10 แผ่น, ผ้าเจาะกลาง, ไซริงแก้วขนาด10ซีซี, ขวดสเตอไรส์ขนาด 10ซีซี พร้อมฝาจุกยาง 3 ขวด, แผ่นสไลด์แก้วสำหรับสเมียร์ 3 แผ่น พร้อมผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง)
Dressing set |
3. ปากกาเขียนไวท์บอร์ด แบบ permanent (สำหรับทำเครื่องหมายบนผิวหนังผู้ป่วย)
4. แถบ marker พร้อม scale ห่างช่องละ 1 ซม.
4. แถบ marker พร้อม scale ห่างช่องละ 1 ซม.
5. ถุงมือ 6 นิ้วครึ่ง – 7 นิ้วครึ่ง
6. เข็ม No.18 , 20 ,24 สำหรับดูดและฉีดยาชา
7. พลาสเตอร์ยาปิดแผล
8. เข็ม Biopsy แบบ Osteotomy ขนาด 10G
10. ใบมีดเบอร์ 11
11. Formalin 10 % 1 ขวด ไว้แช่ชิ้นเนื้อ
12. แผ่นสไลด์แก้ว สำหรับสเมียร์เซลล์
12. แผ่นสไลด์แก้ว สำหรับสเมียร์เซลล์
13. เอกสารส่งเนื้อเยื่อ Histology
14. หมอนทรายไว้กดห้ามเลือด
อุปกรณ์เพิ่มเติม
1. ค้อนสำหรับตอกเข็มเข้ากระดูก ในบางกรณีที่แพทย์เล็งเห็นว่ากระดูกน่าจะแข็งหรือมีความหนามาก อาจจำเป็นต้องใช้ค้อนตอกเข็มผ่านเข้าไปถึงรอยโรคได้
อุปกรณ์เพิ่มเติม
1. ค้อนสำหรับตอกเข็มเข้ากระดูก ในบางกรณีที่แพทย์เล็งเห็นว่ากระดูกน่าจะแข็งหรือมีความหนามาก อาจจำเป็นต้องใช้ค้อนตอกเข็มผ่านเข้าไปถึงรอยโรคได้
ค้อนสำหรับตอกกระดูก |
วิธีตรวจ
1. เตรียมผู้ป่วยนอนบนเตียงตรวจ ท่าคว่ำ หนุนหมอนเตี้ยๆไว้ใต้หน้าท้อง
2. พยาบาลอธิบายขั้นตอนการตรวจให้ผู้ป่วยทราบ
3. พยาบาลวัด Vital Sign และลงบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วยก่อนการตรวจและทำการยืนยันการตรวจ (time out) ให้ถูกคน ถูกตำแหน่ง
4. แพทย์ทำการ Localized ด้วยเครื่อง CT และทำ Marker ตำแหน่งที่จะเจาะด้วยปากกา
ผู้ป่วยนอนคว่ำ ติดแถบ scale marker ที่ผิวหนังด้านหลัง |
สแกนด้วย CT |
ภาพ CT SCAN แนวขวางผ่านส่วนที่กระดูกสันหลังมีรอยโรค แพทย์จะวัดระยะและทิศทางที่จะสอดเข็มเข้าไปในกระดูกสันหลังเป้าหมย |
5. เทคนิเชี่ยนเปิด Set ทำแผล
6. เท Chlorhexidine Solution ใส่ถ้วย
7. แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณที่จะเจาะด้วย Chlorhexidine Solution และปูผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยา เบต้าดีน |
ปิดคลุมด้วยผ้าช่อง |
8. เทคนิเชี่ยนเตรียม 2 % Xylocaine
9. แพทย์ทำการฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่จะเจาะ
ขยายปากแผลด้วยใบมีดเบอร์ 11
แล้วนำเข็ม Biopsy ที่เตรียมไว้สอดเข้าไปเป้าหมาย โดยค่อยใ่ส่เข้าไปลึกทีละนิดสลับกับการสแกนภาพ CT เพื่อเช็คดูตำแหน่งและทิศทางของเข็มเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
กรณีที่กระดูกมีความแข็งแพทย์จะใช้ค้อนช่วยตอกเข็มผ่านกระดูกปกติเข้าไปยังส่วนที่เป็นรอยโรค
เมื่อเข็มเข้าไปถึงเป้าหมายแล้วแพทย์จะถอดแกนในของเข็ม Osteotomy ออกและดันเข็มเข้าไปในกระดูกที่เป็นรอยโรค ต่อไซริงค์สำหรับดูดและค่อยๆถอยเข็มออกเพื่อให้เนื้อเยื่อติดเข็มออกมา หากเนื้อเยื่อเพียงพอแล้วก็ไม่ต้องทำซ้ำ
ถอยเข็มออกและกดบาดแผลไว้จนกระทั่งเลือดหยุด (ประมาณ 5 นาที)
บาดแผลจะมีขนาดเล็ก ไม่จำเป็นต้องเย็บแผล
ปิดพลาสเตอร์ทับแผลไว้และใช้หมอนทรายกดทับเพื่อช่วยในการลดอัตราการเสียเลือด
เนื้อเยื่อที่ได้อยู่ในรูเข็ม แพทย์จะสอดแกนเข็มเข้าไปดันเนื้อออกมาเพื่อส่งตรวจดังนี้
ฉีดยาชาเฉพาะที่ |
ขยายปากแผลด้วยใบมีดเบอร์ 11
ขยายปากแผลด้วยใบมีดเบอร์ 11 |
แล้วนำเข็ม Biopsy ที่เตรียมไว้สอดเข้าไปเป้าหมาย โดยค่อยใ่ส่เข้าไปลึกทีละนิดสลับกับการสแกนภาพ CT เพื่อเช็คดูตำแหน่งและทิศทางของเข็มเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
กรณีที่กระดูกมีความแข็งแพทย์จะใช้ค้อนช่วยตอกเข็มผ่านกระดูกปกติเข้าไปยังส่วนที่เป็นรอยโรค
สอดเข็ม Osteotomy เข้าไปและ CT scan สลับกันไปจนกว่าจะได้ ตำแหน่งและทิศทางที่ถูกต้อง |
ภาพ CT SCAN แนวขวาง (Axial) แสดงเข็ม biopsy เข้าไปอยู่ในกระดูกสันหลังที่เป็นโรค ยืนยันว่าเราจะเก็บเนื้อเยื่อตรงกับรอยโรค |
ภาพ CT SCAN อีกแนวหนึ่ง ยืนยันว่าปลายเข็มอยู่ตรงรอยโรคแล้ว |
เมื่อเข็มเข้าไปถึงเป้าหมายแล้วแพทย์จะถอดแกนในของเข็ม Osteotomy ออกและดันเข็มเข้าไปในกระดูกที่เป็นรอยโรค ต่อไซริงค์สำหรับดูดและค่อยๆถอยเข็มออกเพื่อให้เนื้อเยื่อติดเข็มออกมา หากเนื้อเยื่อเพียงพอแล้วก็ไม่ต้องทำซ้ำ
นำแกนในเข็มออก แล้วต่อไซริงค์เข้ากับเข็มและดูดเนื้อให้ติดเข้ามาในรูเข็ม |
กดบาดแผลเพื่อห้ามเลือดจนกว่าจะหยุด |
หลังจากเอาเข็ม Osteotomy ออกรูบาดแผลขนาดเล็ก |
ปิดพลาสเตอร์ทับแผลไว้และใช้หมอนทรายกดทับเพื่อช่วยในการลดอัตราการเสียเลือด
ปิดพลาสเตอร์คลุมแผล |
เนื้อเยื่อที่ได้อยู่ในรูเข็ม แพทย์จะสอดแกนเข็มเข้าไปดันเนื้อออกมาเพื่อส่งตรวจดังนี้
ส่งย้อม gram stain หรือ AFB สเมียร์ลงในแผ่นสไลด์แก้ว
ส่งเพาะเชื้อ ให้เก็บไว้ในขวดแก้วปราศจากเชื้อ
ส่ง Histology ให้เก็บไว้ในน้ำยา Formalin
เนื้อกระดูกที่เก็บในน้ำยา Formalin เตรียมติดชื่อ เลขที่ผู้ป่วยวันเวลารอส่ง H&E |
10. พยาบาลวัด Vital Sign หลังตรวจเสร็จ พร้อมทั้งบันทึกในแฟ้มประวัติผู้ป่วย
11.แพทย์เขียนเอกสารส่งตรวจเนื้อเยื่อ คำสั่งดูแลผู้ป่วยหลังการเจาะไต, ป้อนคำสั่งส่งตรวจเนื้อเยื่อผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์, และพิมพ์รายงานการทำหัตถการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
พิมพ์คำถามหรือข้อเสนอแนะที่นี่
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น