หัตการการทางรังสีร่วมรักษาแม้ว่าจะรูเล็กและบาดแผลน้อย แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีความบกพร่องของการแข็งตัวของเลือด ไม่ว่าเกิดจากโรคประจำตัวบางอย่างหรือยาที่มีผลบางชนิด จำเป็นต้องมีความระมัดระวัง
เราจะแบ่งหัตถการเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่มีโอกาสเสียเลือดง่ายและยาก
หัตถการที่เสี่ยงต่ำต่อการเสียเลือดง่าย คือเสียเลือดเพียง 2-3 หยดโดยประมาณ ได้แก่หัตถการที่ รูเล็กมากกว่า 1 มม โดยประมาณและเจาะในตำแหน่งที่ตื้นๆ เช่นไธรอยด์ เต้านม ต่อมน้ำเหลืองหรือก้อนที่อยู่ใกล้ผิวหนัง เป็นต้น
หัตถการทีเสี่ยงสูงต่อเสียเลือดง่าย ได้แก่หัตถการที่รูแผลใหญ่กว่า 1 มม ขึ้นมา หรือเป็นหัตถการที่ รู เล็กกว่า 1มม. ก็ตามแต่เป็นอวัยวะที่อยู่ลึกกว่า เช่น ภายในช่องท้อง ภายในช่องอก
เมื่อเจ้าหน้าที่ทราบแล้วว่าหัตถการที่รับปรึกษานั้นเสี่ยงต่ำหรือสูง ลำดับถัดมา จำเป็นต้องถามประวัติโรคหรือยาที่มีผลให้เลือดแข็งตัวช้า ซึ่งจะมีผลต่อการเสียเลือดมากกว่าธรรมดา ได้แก่
ประวัติโรคเลือดออกหยุดยาก ได้แก่
โรคฮีโมฟิลเลีย (Hemophillia)
โรค Idiopathic Thrombocytopenia
โรคตับแข็ง
เป็นต้น
ประวัติผู้ป่วยที่อาจได้รับยาที่ลดการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ ยา
Aspirin
NSAID
Ticagrelor
Clopidogrel
Prasugrel
Ticlopidine
Warfarin
ซึ่งยาแต่ละตัวมีคำแนะนำในการให้ระยะเวลาหยุดยาก่อนทำหัตถการแตกต่างกัน เช่น
Aspirin ไม่ต้องหยุดยาเลย เพราะมีผลไม่มากนัก
Ticagrelor หยุดยา 3-5 วันก่อนทำหัตถการ
Clopidogrel หยุดยา 5 วันก่อนทำหัตถการ
Prasugrel หยุดยา 7 วันก่อนทำหัตถการ
Ticlopidine หยุดยา 10-14 วันก่อนทำหัตถการ
การได้รับยาชนิดใดจึงมีผลต่อวันนัดทำหัตถการได้เร็วที่สุดแค่ไหนจึงจะลดความเสี่ยงต่อการเลือดออกหยุดช้า
นอกจากนี้ เมื่อถึงวันครบกำหนดหยุดยาแล้ว แพทย์ยังจำเป็นต้องยืนยันด้วยการตรวจเลือดหาค่า PT,PTT, Platelet count และ Bleeding time อีกเพื่อแน่ใจว่าผลของยาน้อยจนค่าการแข็งตัวของเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้สามารถทำหัตถการได้
กลับสู่ สารบัญบทความ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
พิมพ์คำถามหรือข้อเสนอแนะที่นี่
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น