วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

breast biopsy: lesion detected by Ultrasonography

ใช้อัลตร้าซาวด์ guidance

การรับปรึกษา

การเตรียมตัว
อาหารและน้ำ: ไม่จำเป็นต้องงด
ยา: ยาละลายลิ้มเลือด (Warfarin) ต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวว่าจะงดยาหนึ่งสัปดาห์ได้หรือไม่?
ตรวจเลือด: ไม่จำเป็นต้องตรวจค่าการแข็งตัวของเลือด

การเลือกหัตถการ
  • Core needle biposy โดยทั่วไปรอยโรคที่เป็นเนื้อทึบ (Solid mass) แพทย์จะทำ core needle biopsy ทั้งหมดเนื่องจากได้เนื้อเยื่อมากกว่า ให้ผลอ่านที่แน่นอนกว่า ไม่ต้องเสียเวลาทำซ้ำมากนัก สิ่งที่ต้องเตรียมพิเศษคือ
automated biopsy (Hunter) 16G
Blade No.11 สำหรับทำ skin knick
น้ำยา Formaldehyde (Formalin) ในขวดแก้วเล็กสำหรับเก็บรักษาเนื้อเยื่อ
  • Fine needle biopsy กรณีที่ก้อนเล็กมากๆ (เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มม.) อาจพิจารณาวิธีนี้ สิ่งที่ต้องเตรียมพิเศษคือ
Needle หรือ spinal needle 25G-27G
Syringe 10ml
Glass slides
95% Ethanol

  • Cyst aspiration กรณีที่สงสัยจะเป็นถุงน้ำให้ใช้
เข็มฉีดยาธรรมดา 18G
ขวด sterile
Glass slide (บางครั้ง)
95% Ethanol (บางครั้ง)
อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับทุกหัตถการ
Dressing set: ประกอบด้วย forceps, สำลี, ผ้าก๊อส, ถ้วยโลหะสำหรับน้ำยาทำความสะอาดผิวหนัง
2% Chlorhexidine

                ผ้าคลุมปลอดเชื้อแบบมีช่องตรงกลาง 

เข็มฉีดยา No. 18 และ 24
Syringe 10 ml
1-2% Lidocaine with adrenaline
ถุงพลาสติกสำหรับหุ้มห่อ ultrasound probe
Sterile Jelly 
Tegaderm สำหรับปิดแผล

ขั้นตอนการทำ core needle biopsy





แพทย์ดูภาพอัลตร้าซาวดน์เก่าของผู้ป่วย

แพทย์ทำอัลตร้าซาวดน์หาตำแหน่งของก้อนเพื่อเอาหมึกระบุตำแหน่งบนผิวหนัง

แพทย์ทำความสะอาดผิวหนังด้วย Chlorhexidine

คลุมส่วนที่สะอาดด้วยผ้าช่อง

หุ้มหัวตรวจอัลตร้าวซาวนด์ด้วยพลาสติกใส sterile และรัดด้วยยางรัด

 

   ยืนยันความถูกต้องของหัตถการ (ชื่อ สกุล วันเดือนปีเกิด, ชื่อหัตถการ ตำแหน่งของอวัยวะที่จะทำ)
ฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าผิวหนัง

สอดเข็มHunter ขนาด 16G X 9cm เข้าในตัวก้อน

เมื่อได้ตำแหน่งของขอบก้อนจะ biopsy ผ่านการเห็นด้วยอัลตร้าซาวด์
   บันทึกภาพที่เข็มฝังอยู่ในตัวก้อน

   เขี่ยเนื้อเยื่่อออกจากเข็มแช่ไว้ในขวดบรรจุน้ำยา Formalin

ปิดแผลด้วย Tegaderm


ขั้นตอนการทำ Fine needle biopsy



แพทย์ดูภาพอัลตร้าซาวดน์เก่าของผู้ป่วย

แพทย์ทำอัลตร้าซาวดน์หาตำแหน่งของก้อนเพื่อเอาหมึกระบุตำแหน่งบนผิวหนัง

แพทย์ทำความสะอาดผิวหนังด้วย Chlorhexidine

คลุมส่วนที่สะอาดด้วยผ้าช่อง

หุ้มหัวตรวจอัลตร้าวซาวนด์ด้วยพลาสติกใส sterile และรัดด้วยยางรัด

ฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าผิวหนัง

สอดเข็มฉีดยา หรือ Spinal ขนาด 25G เข้าในตัวก้อนผ่านการมองเป็นด้วยอัลตร้าซาวดน์

เมื่อได้ตำแหน่งของก้อน จะแทงเข็มเข้า-ออก ตัวก้อนพร้อมกับขยับเข็มเข้าออกหลายๆครั้ง (มากกว่ายี่สิบครั้ง) เพื่อเก็บเซลล์เข้ามาในรูเข็ม เสร็จแล้ว บันทึกภาพเข็มที่สอดเข้าไปในก้อน ถอนเข็มออกจากเต้านม ปลดเข็มแยกออกจาก Syringe ดูดอากาศเข้าไปใน syringe แล้วต่อกับเข็มใหม่ ออกแรงดัน syringe ฉีดไล่เซลล์ออกจากเข็มลงบนแผ่นสไลด์แก้ว สเมียร์สไลด์ แล้วรีบแช่สไลด์ลงในขวดบรรจุ 95% Ethanol ทำซ้ำจนได้เซลล์ครบ 4 สไลด์
 ปิดแผลด้วย Tegaderm




กลับสู่หน้า สารบัญบทความ

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Renal cyst Sclerosis

Renal cyst คือถุงซิสต์ในไต
ภาพแสดงซิสต์ของไต

การเกิด: ไม่ทราบสาเหตุแน่นอน 

การตรวจพบ:มักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจทางภาพอัลตร้าซาวนด์ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์และ เอ็ม อาร์ ไอ

ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แสดงซิสต์ในไตข้างขวา

การรักษา: โดยทั่วไปถ้าไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องรักษา
กรณีที่ต้องรักษา เช่น ปวด ติดเชื้อ เบียดอวัยวะอื่นเช่นท่อไต
การรักษาโดยการดูดน้ำออกจากซิสต์ (Aspiration) อาจกลับเป็นซ้ำได้ง่าย
การรักษาด้วยการฉีด Sclerosing Agents จะช่วยให้การกลับเป็นซ้ำน้อยลง
Sclerosing Agent ที่นิยมที่สุดคือ Absolute Ethanol (95-100%) หาง่ายและราคาถูก
ฤทธิ์ของ Ethanol ทำให้ โปรตีนย่อยสลาย, เซลล์ตายและเกิดพังผืดแผลเป็นภายในซิสต์
ผลสำเร็จ: ประมาณ 70%

รายละเอียดการรักษา

แพทย์ตรวจดูภาพอัลตร้าซาวดน์ CT หรือ MRI ที่จำเป็นต่อการวางแผนการรักษา
คำแนะนำก่อนการรักษา
ให้ผู้ป่วยดูสื่อทำหัตถการ
การงดยาละลายลิ่มเลือด เช่น Warfarin และยาต้าน platelet
คำยินยอมรับการรักษา

การนัดหมาย

การเตรียมผู้ป่วย
รับไว้เป็นผู้ป่วยใน
งดอาหารและน้ำทางปาก 6 ชั่วโมงก่อนเวลารักษา
ตรวจเลือดหาค่า PT, PTT, CBC, BUN/Cr
ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ
ให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ 
Cefazolin 1 gm (นน.น้อยกว่า 60kg), 2gm (นน 60-120kg), 3gm (นนกว่า 120kg) ก่อนหัตถการ 60 นาที
กรณีแพ้ยากลุ่ม Penicillin ให้
Vancomycin 1gm ก่อนหัตถการ 120 นาที

เตรียมยาแก้ปวด Morphine sulphate มาพร้อมกับผู้ป่วย

การเตรียมอุปกรณ์


เซต Suture

ถุงมือสเตอไรด์ เบอร์ 7-7 1/2

ปากกาเขียนไวท์บอร์ด แบบ permanent

Betadine solution

เข็มเบอร์ 18, 24

ยาชา xylocain 1% หรือ 2% with adrenaline

ถุงพลาสติกสเตอไรล์ไว้หุ้ม probe ultrasound พร้อมด้วยยางรัดธรรมดา

Sterilized ultrasound jelly (or sterile K-Y jelly)

เข็ม Troca เบอร์ 18 ยาว 10-15 ซม.

Amplatz stiff guide wire 0.038” ความยาว 80 cm

Contrast media

Dilator ขนาด 6 F, 8F

สาย Drainage 8F

95% แอลกอฮอล์ ไว้ฉีดเข้าไปcyst ประมาณ 100 ซีซี


ขั้นตอนและเทคนิค

  • ผู้ป่วยมาถึงห้องตรวจ fluoroscopy (และมี Ultrasound)
  • ให้ Morphine 5mg IV เมื่อผู้ป่วยมาถึง
  • จัดท่าผู้ป่วยในท่าคว่ำหรือตะแคงด้านที่จะใส่สายขึ้นแล้วแต่กรณี
  • แพทย์ตรวจอัลตร้าซาวดน์ เพื่อกำหนดจุดใส่สายระบาย
  • ทำความสะอาดผิวด้วย Chlorhexidine
  • คลุมผ้าสะอาดและผ้าช่อง
  • หุ้ม ultrasound probe ด้วยถุงพลาสติก sterile
  • ฉีดยาชา under ultrasound guidance
  • ทำ skin knick ด้วย blade No.11
  • ถ้าเป็นวิธี Troca technique จะทำดังนี้
  • สอดสายระบายเข้าโดยตรง
วิธี Direct troca technique แทงสาย drain ที่มีแกนในเป็นเข็มปลายแหลมเข้าไปในซิสต์โดยครงในขั้นตอนเดียว

  • ถ้าเป็นวิธี Seldinger technique จะทำดังนี้
  • สอดสายระบายเข้าโดยผ่าน guide wire โดยขั้นแรก จะ puncture ด้วยเข็ม Chiba No.18 ก่อน ต่อด้วยการสอด 0.38" amplat stiffed guide wire เข้าทางรูเข็มเข้าไปอยู่ในซิสต์ ต่อมาถอยเข็ม Chiba ออก เหลือแต่ guide wire คาไว้ในซิสต์ นำ Dilatator สอดเข้า guide wire เพื่อขยายเส้นทางผ่านของ guidwire จากเบอร์เล็กมาจนถึงขนาดที่ต้องการคือ 5F, 6F, 7F, 8F ตามลำดับ ขั้นสุดท้ายประกอบสายระบาย 8F เข้ากับแกนโลหะสอดผ่าน guide wire ลงไปในซิสต์ ถอดแกนโลหะออกคาสายระบายเอาไว้ ล็อค pigtail loop

  • หลังจาก loop สายระบายเรียบร้อย จะฉีด contrast media เข้าทางสายเพื่อดูการติดต่อระหว่าง cyst กับ renal collecting system
    ฉีด diluted contrast media (contrast: Normal saline 1:3) ผ่านทางสายระบายเข้าไปในซิสต์ ดังรูปไม่เห็น contrast media เข้าไปใน renal collecting system สรุปว่าไม่มีการติดต่อกันระหว่างซิสตืกับ ทางเดินปัสสาวะ จึงสามารถทำ Ablation ได้

  • เย็บยึดสายไว้กับผิวหนัง
  • ปิดพลาสเตอร์คลุมแผลใส่สายให้เรียบร้อย
  • หากผลการฉีดสารทึบรังสีพบรอยติดต่อระหว่างซิสต์กับ renal colecting system จะไม่มีการรักษาด้วย Ethanol อีกต่อไปเพื่อไม่ให้ท่อไตถูกทำลายโดย Ethanol
  • วัดปริมาณของเหลวที่ drainage จาก cyst ทั้งหมด
  • เตรียม 95% Ethanol ปริมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณของเหลวจากซิสต์ (แต่ไม่เกิน 100 ml) ใส่ทางสายระบายเข้าไปในซิสต์และขังไว้
  • ให้ผู้ป่วยนอนในทางหงาย คว่ำ ตะแคงซ้ายลง และขวาลงท่าละห้านาที
  • ปล่อยระบาย Ethanol ออกจนหมดและส่งผู้ป่วยกลับขึ้่้น Ward
  • แพทย์เขียนบันทึกการรักษาและคำสั่่งการดูแลหลังหัตถการ

การติดตามอาการ


  • เฝ้าระวังเลือดออก โดยวัด BP, pulse ทุก 15 นาทีในชั่วโมงแรก, ทุก 30 นาทีในสองชั่วโมงถัดมา, และ ทุก 1 ชั่วโมงในสี่ชั่วโมงถัดมา
  • เฝ้าระวังการปวด โดยสั่งยาแก้ปวดตามความเหมาะสม
  • เฝ้าระวังสายเลื่อนหลุด 




กลับสู่หน้า สารบัญบทความ

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

PICC LINE

Peripherally Inserted Central Catheter (PICC)

คือท่อพลาสติกขนาดเล็กซึ่งสอดเข้าทาง peripheral vein ของผู้ป่วย (โดยทั่วไปสอดเข้าทางเส้นเลือดดำของต้นแขน) ปลายทางของท่อพลาสติกจะอยู่ในเส้นเลือดดำใหญ่ใกล้หัวใจ

แผน ภาพแสดงสาย PICC line (สีเหลือง) สอดเข้าทาง basilic vein และผ่านลึกเข้าไปจนปลายท่อเข้ามาจ่ออยู่ใน Superio Vena Cava จึงจัดว่าเป็น central venous catheter ที่สอดเข้าทาง peripheral vein





เมื่อใส่สายเสร็จแล้วจะมีส่วนที่เห็นโผล่จากต้นแขนดังรูป
รูปส่วนของ PICC line หลังใส่เสร็จ

ประโยชน์ของ PICC LINE
1. สามารถคาสายไว้ได้นาน ระยะเวลาในการคาสาย PICC LINE นานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน หากดูแลอย่างดีสามารถคงอยู่ได้เป็นปีทีเดียว จึงหมดปัญหาต้องแทงเข็มหาเส้นเลือดอยู่บ่อยๆ เหมือน peripheral venous line

2. ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ เนื่องจากต่ำแหน่งสายโผล่ที่ต้นแขนซึ่งสะอาดกว่าซอกคอ ทำให้ PICC LINE มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำกว่า central line และเนื่องจากไม่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งแทงเข็มหลายๆแห่ง จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามรอยแทงเข็มต่ำกว่า peripheral line
3. ลดจำนวนครั้งที่เจาะเลือด หากต้องตรวจเลือดบ่อยๆ เนื่องจากพยาบาลสามารถเก็บเลือดจากสาย PICC LINE จึงไม่จำเป็นต้องแทงเข็มหลายครั้งจึงลดความยุ่งยากให้แก่พยาบาลและผู้ป่วย
4. เพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้ป่วย หากมีความจำเป็นต้องให้ยาทางหลอดเลือดดำเป็นระยะไม่ต่อเนื่อง ก็สามารถให้ผู้ป่วยคาสายไว้แบบผู้ป่วยนอกได้ โดยมีการดูแลรักษาที่ไม่ยุ่งยาก และเมื่อผู้ป่วยกลับมารับยาอีก ก็ไม่จำเป็นต้องแทงเข็มใหม่ให้เจ็บอีก
5. ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งดูดเลือดส่งตรวจ (Blood sampling), ให้สารน้ำ (Fluid), ให้สารอาหาร (parenteral nutrition), ให้ยาปฏิชีวนะ (antibiotics), ให้เคมีบำบัด (chemotherapy) และแม้กระทั่งการวัด Central venous pressure 


โดยทั่วไปมีขนาดประมาณ 3-7 French size มีให้เลือกแบบ single, double และ triple Lumen
Single Lumen มีช่องเดียวในสายหนึ่งเส้น Doble Lumen มีช่องสองช่องในสายหนึ่งเส้น Triple Lumen มีช่องสามช่องในสายหนึ่งเส้น สังเกตจากจำนวน port ที่สายตามรูป

สามารถสอดเข้าทาง brachial vein, basilica vein หรือ cephalic veinจุดประสงค์เพื่อให้ Chemotherapy, Antibiotics, fluid, blood drawing, TPN

ระยะเวลาคาสายในผู้ป่วยนานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน

ข้อดีคือมีราคาประหยัด,มีภาวะแทรกซ้อนต่ำ, ไม่ค่อยมีปัญหา central vein thrombosis

ข้อเสียคือสายมักจะเล็กไม่สามารถใช้ flow rate สูงๆสำหรับ hemodialysis ได้

หมายเหตุ
สาย PICC line ที่เราจะใช้ต่อไปจะมีแต่รุ่น Triple Lumen และมี 2 แบบให้เลือกคือ
Vascu-PICC (สายสีขาว) ชนิดนี้ทนแรงดันได้ไม่สูงไม่สามารถต่อกับเครื่องฉีดสารทีบรังสี(Power Injector) ได้ ดังรูป
VASCU-PICC-TRIPLE LUMEN

Power-PICC (สายสีม่วง) ชนิดนี้ทนแรงดันได้ ต่อกับ Power Injector ได้ สามารถฉีดสารทีบรังสีได้สูงถึง 5 ml/second
ดังรูป

POWER PICC-TRIPLE LUMEN

การเตรียมตัวก่อนทำ
            โดยทั่วไปสามารถทำได้เลยไม่ต้องเตรียมตัวทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในแต่หากผู้ป่วยที่ Bleeding tendency มากๆ ควรแก้ไขให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อน



การเตรียมอุปกรณ์สำหรับใส่สาย PICC LINE

-          Set PICC LINE สำเร็จรูป VASCU-PICC ของ medcomp ใน set ประกอบด้วย

o  Catheter 5 F X 60 cm single (หรือ double) lumen

o  Adaptor w/sideport fitting

o  Needle free valve

o  0.015” X 75 cm Twisted wire stylet

o  21GA needle W/echo tip

o  5.5F tearaway introducer

o  0.018” (0.46mm) X 70 cm Nitinal guidewire w/radioplauqe tip

o  10 cc syringe

o  Scalpel

o  Tape measure

o  Patient chart sticker

o  STATLOCK

-          Sterile set ประกอบด้วย (ถาดสเตลเลส 1, ถ้วยเบต้าดีน 1, ถ้วย normal saline 1, สำลี, ผ้าก๊อส, foceps 2, arterial clamp 1,

-          ผ้าช่องเจาะรูกลาง sterile

-          เสื้อกาวน์แขนยาว sterile ของแพทย์

-          หมวก

-          Mask

-          ถุงมือ 7.5 sterile

-          Touniquet รัดแขน

-          ปากกาหมึก permanent หัวใหญ่สำหรับ skin marker

-          เครื่องอัลตร้าซาวนด์ หัวตรววความถี่สูง 9-12 Mhz

-          ถุงพลาสติกใสหุ้มหัวตรวจ sterile พร้อมยางรัด

-          Sterile Ultrasound jelly หรือ K-Y Jelly sterile

-          เครื่อง DSI กรณีที่สามารถย้ายผู้ป่วยลงมาทำที่ห้องcath labนี้ได้

-          Syring 10 ml สำหรับยาชา

-          1% Xylocaine without adrenaline

-          เข็มฉีดยาเบอร์ 18

-          เข็มฉีดยาเบอร์ 24

-          เทปม้วนปิดแผลและยึดสายกับแขนผู้ป่วย

หลักการใส่ PICC LINE

สามารถทำข้างเตียงคนไข้โดยใช้อัลตร้าซาวนด์นำเพียงเครื่องมือเดียว หรือหากทำที่แผนกรังสีวิทยาภายใต้เครื่องอัลตร้าซาวนด์และเครื่อง fluoroscopy ด้วยจะยิ่งสะดวกยิ่งขึ้น
แพทย์จะทำอัลตร้าซาวดน์เพื่อหาเส้นเลือดดำที่เหมาะสมที่จะใช้แทงเข็ม โดยทั่วไปจะสอดเข็มเข้าทาง Basilic vein หลังจากนั้นทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยา Chlorhexidine (2%-5%) คลุมด้วยผ้าสะอาด หุ้มห่อหัวตรวจอัลตร้าซาวนด์ด้วยถุงพลาสติกยาวๆที่ sterile
ทำ ultrasound guided puncture 
เมื่อ puncture ได้แล้วจะสอด guidewire
เอาเข็มออก ยังคงคา guidewire ไว้
ใช้ใบมีด เบอร์ 11 ขยายปากแผลรูเข็มให้กว้างขึ้นประมาณ 3 mm
สอด built in dilator-peel-away sheath คร่อม guide wire เข้าไป เสร็จแล้วเอา guide wire ออก
วัดกะประมาณความยาวของสายที่ PICC line ที่จะสอดเข้าไปถึง Superior Vena Cava โดยการนำแถบวัดที่ให้มากับเซต PICC line วัดจะจุดแทงเข็มทาบมาตามแนวหลอดเลือดแขนคนไข้เข้าถึงบริเวณอกที่มี land mark ของ menubrio-sternal angle
ตัดสาย PICC line ให้มีความยาวเท่ากับระยะที่เราวัดระยะได้
flush สาย PICC line ด้วย normal saline ทุก ports
สอด guide wire เข้าไปใน peel away sheath จนสุดสาย
หัก peel away sheath และฉีดแยกออกจากกัน จากนั้นดันสาย PICC line ไปจนสุด ตรวจอัลตร้าซาวดน์หลอดเลือด internal jugular veins ที่คอทั้งสองด้านเพื่อความแน่ใจว่าปลายสายไม่ได้เข้าผิดที่ (ถ้าปลายสายไม่ได้อยู่ใน internal jugular vein ก็หมายถึงปลายสายน่าจะเข้าไปอยู่ใน SVC แล้ว ทดสอบดูดเลือดและ flush สาย PICC line ทุก ports ต้องได้ free flow
สำหรับ set PICC line ของบริษัท MEDCOMP มีอุปกรณ์ยึดสายติดกับผิวหนัง ให้สวม wing ของสายเข้ากับตัวยึดนี้แล้วแปะติดกับต้นแขนผู้ป่วยไว้
ปิดคลุมแผลและตัวยึดสายด้วย Tegaderm
ถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อยืนยันว่าสาย PICC อยู่ในที่เหมาะสม

ชมวิดีโอ Animation การใส่สาย  PICC LINE ข้างล่างนี่


การดูแลสาย PICC


Dressing แผลที่สอดสายควร dry dressing วันละครั้ง

Flushing การหล่อสารเพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตันมีความจำเป็นต้องทำในกรณีต่อไปนี้

  • สาย PICCline ชนิด double lumens (มี2ท่อรวมอยู่ในสายหนึ่งเส้น) หากท่อใดไม่ได้ให้สารน้ำตลอดเวลาต้อง flushing วันละหนึ่งครั้ง 
  • กรณีหลังให้สารน้ำ สารอาหาร หรือดูดเลือดแล้วหยุดใช้ต้อง flushingทุกครั้ง



การ Flushing ทำโดยใช้ Syringe ที่มี Normal Saline 10 ml ดูดฟองอากาศออกจากสายจนหมดแล้วฉีด Normal Saline 10ml เสร็จแล้วหล่อท่อแต่ละท่อด้วย Heparin 1:100 IU/ml จำนวน 3 ml

Removal 
หากต้องการเอาสาย PICC LINE ออก เพียงแต่แกะส่วนที่แปะติดผิวหนังออกให้หมดแล้วดึงสายออกได้เลย
หลังจากนั้นกดห้ามเลือดที่ปากแผลรูสายสัก 5 นาทีเมื่อไม่เห็นเลือดซึมออกจากรูแผลก็ผิดพลาสเตอร์ได้ แผลจะหายเองภายใน 2-3 วัน 
ชมวิดีโอ PICC line removal ข้างล่างนี้



ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังต่อไปนี้


  1. Air embolism ฟองอากาศอาจเข้าไปในหลอดเลือดได้ขณะที่สอดสายPICC line ในกรณีที่เทคนิคการใส่ไม่ดีพอ อาจมีผลให้ความดันโลหิตต่ำ, ปวดศีรษะ, สับสน, หัวใจเต้นเร็ว, เจ็บหน้าอกหรือหายใจเหนื่อย
  2. Infection การติดเชื้อเกิดภายในหลอดเลือดหรือผิวหนังบริเวณที่สอดสาย อาการที่ตรวจพบได้แก่ ไข้, หนาวสั่น, หัวใจเต้นเร็ว, อ่อนเพลีย, ปวดกล้ามเนื้อ, อ่อนแรง, ความดันโลหิตต่ำ, ผิวหนังบริเวณสอดสายมีรอยบวมแดงหรือมีหนองบริเวณแผลที่สอดสายPICC line
  3. Phlebitisหลอดเลือดดำอักเสบ อาการที่ตรวจพบได้แก่ ปวด บวมแดงบริเวณสอดสาย คลำได้เส้นเลือดแข็งๆ หรือเห็นหนองออกจากรูแผล
  4. Catheter Malposition ต่ำแหน่งสายเลื่อนหรือหลุด ขึ้นอยู่กับการดูแลหลังใส่สาย
  5. Thrombus formation สายอุดตันจากลิ่มเลือด 
  6. Difficult removal ถอดสายออกยาก 
  7. Nerve injury or irritation ระหว่างแทงเข็มเพื่อสอด PICC line อาจแทงเข็มโดนเส้นประสาทเนื่องจากหาตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวไปทั้งแขนหรือชาแขน 
  8. Leakage หากผิวหนังผู้ป่วยสูญเสียความยืดหยุ่นมากอาจทำให้รูแผลกว้างได้และมีการซืมของน้ำเหลืองหรือเลือดออกมาได้ 
  9.  Catheter breakage การหักของสายเกิดได้ยากมาก แต่อาจเป็นไปได้ว่าตำแหน่งสายอยู่ระหว่างข้อพับศอก หรือการเคลื่อนไหวที่รุนแรงเกินไป