การสอดลวดเข้าไปในรอยโรคในเต้านมเพื่อให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดก้อนที่คลำไม่พบ
(Non-palpable
mass) หรือกลุ่มหินปูน (Cluster of microcalcifications) ออกตรวจได้แม่นยำและหมดจรด
ข้อบ่งชี้ในการทำ
ใช้ปักหมุดรอยโรคในเต้านมที่ศัลยแพทย์คลำไม่พบ
การเตรียมผู้ป่วย
โดยทั่วไปศัลยแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาผ่าตัดซึ่งมีการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอยู่แล้ว
ทางรังสีแพทย์จึงไม่ต้องเตรียมเพิ่มเติมแต่อย่างใด
เพียงแต่การนัดหมายเวลาทำต้องทำก่อนเวลาผ่าตัดในวันเดียวกัน
หลักการเบื้องต้น
เข็มที่ใช้ปักหมุดรอยโรคเป็นเข็มพิเศษที่มีลวดเป็นตะขออยู่ข้างใน โดยในตอนแรกลวดยังอยู่ภายในรูเข็มแพทย์จะสอดเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปในรอยโรค ดังภาพด้านล่าง
หลังจากปลายเข็มทะลุผ่านไปยังด้านหลังของรอยโรคแล้ว แพทย์จะดันลวดตะขอที่อยู่ในเข็มโผล่พ้นปลายเข็มออกไป ลวดตะขอจะเกี่ยวรอยโรคไว้
เมื่อถอยเข็มออกจะเหลือเพียงลวดตะขอที่ยังคาอยู่ในเต้านมเพื่อใ้ห้ศัลยแพทย์ผ่าตัดเข้าไปถึงตัวรอยโรคได้อย่างถูกต้อง
หลักการเบื้องต้น
เข็มที่ใช้ปักหมุดรอยโรคเป็นเข็มพิเศษที่มีลวดเป็นตะขออยู่ข้างใน โดยในตอนแรกลวดยังอยู่ภายในรูเข็มแพทย์จะสอดเข็มผ่านผิวหนังเข้าไปในรอยโรค ดังภาพด้านล่าง
แผนภาพแสดงการสอดเข็มที่มีตะขอเกี่ยวอยู่ในรูเข็ม ภาพนี้แสดงปลายเข็มผ่านทะลุก้อนไปโผล่ทะลุของด้านหลังก้อนเนื้อเต้านมแล้ว |
หลังจากปลายเข็มทะลุผ่านไปยังด้านหลังของรอยโรคแล้ว แพทย์จะดันลวดตะขอที่อยู่ในเข็มโผล่พ้นปลายเข็มออกไป ลวดตะขอจะเกี่ยวรอยโรคไว้
แผนภาพแสดงการดันลวดตะขอ(ที่อยู่ภายในรูเข็มให้โผล่พ้นปลายเข็ม) และค่อยๆถอนเข็มออกจากเต้านมโดยยังคงตำแหน่งตะขอลวดไว้ |
เมื่อถอยเข็มออกจะเหลือเพียงลวดตะขอที่ยังคาอยู่ในเต้านมเพื่อใ้ห้ศัลยแพทย์ผ่าตัดเข้าไปถึงตัวรอยโรคได้อย่างถูกต้อง
หลังจากถอนเข็มออกจากเต้านม ส่วนที่เหลืออยู่คือลวดตะขอที่ปลายยังเกี่ยวตัวก้อนเนื้องอกไว้แน่น ทำให้แพทย์ผ่าตัดเข้าไปหาตำแหน่งก้อนได้โดยง่าย |
การเตรียมอุปกรณ์
กรณีใช้เครื่องเอกซเรย์่เต้านมเป็นแผนที่นำทางการสอดเข็ม
กรณีใช้เครื่องอัลตร้าซาวนด์เป็นแผนที่นำทางการสอดเข็ม
กรณีใช้เครื่องเอกซเรย์่เต้านมเป็นแผนที่นำทางการสอดเข็ม
เครื่องเอกซเรย์เต้านม
Grid localization ที่ให้มากับเครื่องเอกซเรย์เต้านม
ปากกาหมึก permanent สำหรับทำเครื่องหมายบนผิวหนังเต้านม
เข็ม needle localization ( เช่น Kopan localized needle ขนาด 21 G ของบริษัท COOK)
Dressing set
ผ้าช่อง
Betadine solution หรือ Hibitaine
Xylocaine 2% with adrenaline
Syringe 10 ml
เข็มยาชาเบอร์ 18G and 24G
เครื่องอัลตร้าซาวนด์(ในกรณีที่ก้อนสามารถตรวจพบด้วยอัลตร้าซาวนด์จะให้อัลตร้าซาวนด์เพียงอย่างเดียวในการสอดลวดนำเข้าไปในก้อน)
ปากกาหมึก permanent
สำหรับทำเครื่องหมายบนผิวหนังเต้านม
ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่
sterile
สำหรับห่อหุ้มหัวตรวจอัลตร้าซาวดน์พร้อมยางรัด sterile
เข็ม needle
localization ( เช่น Kopan localized needle ขนาด
21 G ของบริษัท COOK)
Dressing set
ผ้าช่อง
Ultrasound jelly
Betadine solution หรือ Hibitaine
Xylocaine 2% with adrenaline
Syringe 10 ml
เข็มยาชาเบอร์ 18G
and 24G
วิธีการทำ
วิธีทำ กรณีใช้เครื่องอัลตร้าซาวนด์(ก้อนที่เห็นจากอัลตร้าซาวดน์)
-
แพทย์ดูภาพอัลตร้าซาวดน์เก่าของผู้ป่วย
-
แพทย์ทำอัลตร้าซาวดน์หาตำแหน่งของก้อนเพื่อเอาหมึกระบุตำแหน่งบนผิวหนัง
-
แพทย์ทำความสะอาดผิวหนังด้วยเบต้าดีน
-
คลุมส่วนที่สะอาดด้วยผ้าช่อง
-
หุ้มหัวตรวจอัลตร้าวซาวนด์ด้วยพลาสติกใส
sterile
และรัดด้วยยางรัด
-
ฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าผิวหนัง
-
สอดเข็ม Kopan
localized needle เข้าในตัวก้อน
-
เมื่อได้ตำแหน่งเหมาะสมแพทย์จะคาลวดโลหะให้เกี่ยวก้อนขณะเดียวกันจะถอนเข็มออก
-
ม้วนลวดส่วนทีโผล่พ้นผิวหนังและปิดด้วยผ้าก๊อสสะอาดและปิดพลาสเตอร์ทับ
-
ส่งผู้ป่วยด้วยรถนอนไปยังห้องผ่าตัดเล็ก
วิธีทำ กรณีใช้เครื่อง mammography
-
แพทย์ดูภาพ mammograms
ของปัจจุบัน
-
ใช้ grid
mammography หนีบเต้านมให้คลุมบริเวณที่มีรอยโรคในท่า Cranio-caudad
view แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ให้แพทย์ดูภาพ
ขณะนั้นผู้ป่วยจะต้องอยู่ในท่าเดิมตลอดยังไม่เปลี่ยนท่า
จนกว่าแพทย์จะสอดเข็มเข้าไปในเต้านม
-
หลังจากสอดเข็ม
เจ้าหน้าที่รังสีจะปรับแนว grid เพื่อทำเอกซเรย์ในแนว
true lateral view
-
หลังจากดูภาพแนว lateral
view แพทย์จะปรับระดับความลึกของเข็มในแนวนี้อีกครั้ง
-
ถ่ายเอกซเรย์อีกครั้งในแนว
lateral
และ cranio-caudad views
-
กรณีที่ปลายเข็มตรงตำแหน่งรอยโรคแล้วแพทย์จะฝังลวดที่มีปลายเป็นตะขอเกี่ยวบริเวณรอยโรคไว้พร้อมกับถอนเข็มออก
-
ถ่ายภาพเอกซเรย์ในแนว
Cranio-cadad
& true lateral views อีกครั้งเพื่อยืนยันตำแหน่งของปลายลวดอยู่ในรอยโรค
- ม้วนลวดส่วนทีโผล่พ้นผิวหนังและปิดด้วยผ้าก๊อสสะอาดและปิดพลาสเตอร์ทับ
ภาพเอกซเรย์เต้านมแสดงปลายลวดตะขอเกี่ยวบริเวณที่มีกลุ่มหินปูนรอยผิดปกติ เพื่อจะนำทางให้แพทย์ผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อเต้านมที่มีกลุ่มหินปูนออกมาตรวจพิสูจน์ต่อไป |
- ม้วนลวดส่วนทีโผล่พ้นผิวหนังและปิดด้วยผ้าก๊อสสะอาดและปิดพลาสเตอร์ทับ
-
ส่งผู้ป่วยด้วยรถนอนไปยังห้องผ่าตัดเล็ก
กรณีที่ศัลยแพทย์ต้องการให้สอดลวดอีกหนึ่งเส้นเข้าเส้นทางด้านหน้าของเต้านมต้องส่งผู้ป่วยมาทำอัลตร้าซาวนด์หลังจากฝังลวดแรกเข้ารอยโรคแล้ว
และแพทย์ทำอัลตร้าซาวนด์เพื่อฝังเข็มที่สองเข้าไป
หลังจากแพทย์ผ่าตัดชิ้นเนื้อออกมาแล้วจะส่งชิ้นเนื้อที่มีตะขอเกี่ยวมาเอกซเรย์ยืนยันว่ากลุ่มหินปูนได้ถูกผ่าตัดออกมาครบถ้วนแล้ว
หากพบว่า ผ่าตัดรอยโรคออกมาได้หมด แพทย์จะเย็บปิดบาดแผล แต่หากภาพเอกซเรย์ชิ้นเนื้อพบว่า ยังนำรอยโรคออกไม่หมด จะต้องพิจารณา ตัดเนื้อเยื่อเพิ่มเติม แล้วส่งชิ้นเนื้อมาเอกซเรย์เพิ่มเติมอีกครั้ง
กลับสู่หน้า สารบัญ
หลังจากแพทย์ผ่าตัดชิ้นเนื้อออกมาแล้วจะส่งชิ้นเนื้อที่มีตะขอเกี่ยวมาเอกซเรย์ยืนยันว่ากลุ่มหินปูนได้ถูกผ่าตัดออกมาครบถ้วนแล้ว
ภาพเอกซเรย์ชิ้นเนื้อที่ผ่าตัดออกมา แสดงให้เห็นกลุ่มหินปูนที่อยู่ในชิ้นเนื้อ (ใกล้กับปลายตะขอลวด) |
กลับสู่หน้า สารบัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
พิมพ์คำถามหรือข้อเสนอแนะที่นี่
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น