ช่องอกคืออะไร?
โดยปกติช่องอกซ้ายและขวาจะบรรจุปอดไว้ซึ่งขณะที่ปอดขยายเต็มที่ปกติจะมีเพียงน้ำขังเป็นฟิล์มเคลือบบางๆในช่องว่างนี้ล้อมรอบปอดเท่านั้น ดังรูปด้านล่าง (C คือช่องว่างในอกซ้ายปกติ)ภาพแสดงช่องอกของคน A คือปอดข้างขวาที่ถูกน้ำในช่องอกที่มากผิดปกติกดดันจนเล็กลง (B) คือน้ำในช่องอกที่เพิ่มผิดปกติ C คือช่องอกข้างซ้ายที่ปกติจะเป็นเพียงน้ำเล็กน้อย D คือปอดข้างซ้ายซึ่งปกติ |
ภาวะมีน้ำขังในช่องอก คือ มีปริมาณของเหลวในช่องอกเพิ่มมากผิดปกติจนกระทั่งดันให้ปอดขยายตัวได้น้อยลงๆ ดังภาพด้านบน ซึ่งช่องอกด้านขวามีน้ำเพิ่มขึ้น (B)
สาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดน้ำเพิ่มในช่องอก ซึ่งในบทความนี้จะไม่กล่าวรายละเอียด
ทำไมถึงต้องเจาะเอาน้ำในช่องอก?
ข้อบ่งชี้หลักที่แพทย์ต้องการให้เจาะน้ำในช่องอกคือ
1. เพื่อนำของเหลวนั้นไปตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
2. เพื่อบรรเทาอาการเหนื่อยจากภาวะปอดขยายตัวไม่ดี
3. เพื่อบรรเทาภาวะติดเชื้อที่ขังอยู่ภายในช่องอก
การเตรียมตัวก่อนเจาะดูดน้ำในช่องอก
แพทย์ผู้เจาะจะทบทวนประวัติเจ็บป่วยผู้ป่วย
น้ำในช่องอกข้างใดบ้างมากเพียงพอจะเจาะออกหรือไม่
จุดประสงค์ของการดูดน้ำในช่องอกครั้งนี้ว่าจะส่งตรวจอะไรบ้าง เพื่อเตรียมภาชนะบรรจุทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม
ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยากหรือไม่ เช่น กำลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น มีค่าเกร็ดเลือดเท่าไร ค่าการแข็งตัวของเลือดเท่าไร (PT, PTT)
ผู้ป่วยสามารถนั่งได้หรือไม่ เพื่อวางแผนการเจาะในท่าทางที่เป็นไปได้
ไม่ต้องสั่งงดอาหารหรือน้ำ
คำแนะนำผู้ป่วยหรือญาติ
ดูคำแนะนำผู้ป่วยหรือญาติ ที่นี่
เครื่องมือและอุปกรณ์
เครื่องอัลตร้าซาวนด์หัวตรวจความถี่ 1-5 MHZ (หัวโค้ง)
- ปากกาหมึก permanent สำหรับทำเครื่องหมายบนผิวหนัง
- ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ sterile สำหรับห่อหุ้มหัวตรวจอัลตร้าซาวดน์พร้อมยางรัด sterile
- เข็ม sheath needle (Jelgo) ขนาด 18G X ยาว 32 mm, ขนาด 16G X ยาว 50 mm. หรือเข็ม spinal needle 18G X ยาว 100 mm
- Dressing set
- ผ้าช่อง
- Ultrasound jelly
2% Hibitaine solution
- Xylocain 2% with adrenaline
- Syringe ขนาด 10 ml, 20 ml, 50 ml แล้วแต่ปริมาณน้ำประมาณไว้
- เข็มยาชาเบอร์ 18G and 24G
ขวด sterile สำหรับเก็บของเหลวส่งตรวจ
ขวด 50 ml สำหรับใส่น้ำส่งตรวจ cytology
ขวด 1,000 ml ไม่ต้อง sterile สำหรับบรรจุของเหลวที่ต้องการระบายทิ้งหรือส่งตรวจ cytology
ขวด 50 ml สำหรับใส่น้ำส่งตรวจ cytology
ขวด 1,000 ml ไม่ต้อง sterile สำหรับบรรจุของเหลวที่ต้องการระบายทิ้งหรือส่งตรวจ cytology
วิธีการเจาะน้ำในช่องอก
- หากผู้ป่วยนั่งได้ให้ทำในท่านั่ง
แพทย์ทำอัลตร้าซาวดน์หาตำแหน่งของเพื่อเอาหมึกระบุตำแหน่งบนผิวหนัง
แพทย์ทำอัลตร้าซาวดน์หาตำแหน่งของเพื่อเอาหมึกระบุตำแหน่งบนผิวหนัง
แพทย์ใช้อัลตร้าซาวนด์ตรวจหาตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะสอดเข็มเข้าไปหาน้ำในช่องอก |
- คลุมส่วนที่สะอาดด้วยผ้าช่อง
- หุ้มหัวตรวจอัลตร้าวซาวนด์ด้วยพลาสติกใส sterile และรัดด้วยยางรัด
- ฉีดยาชาเฉพาะที่เข้าผิวหนัง
- สอดเข็มที่ใช้เจาะ เข้าหาน้ำในช่องอก
- บันทึกภาพที่เข็มฝังอยู่ในตัวก้อน
ภาพอัลตราซาวดน์ตำแหน่งชายโครงขวาล่าง แสดงให้เห็นตัวเข็มเป็นแส้นตรงสว่าง (ลูกศรชี้) ที่แทงจากผิวหนังผ่านเนื้อเยื่อจนปลายเข้ามาอยู่ท่ามกลางน้ำในช่องอก |
จากจออัลตร้าซาวดน์ เมื่อแพทย์เห็นปลายเข็มเข้าไปอยู่ในน้ำแล้ว ก็จะถอนแกนเข็มออกเหลือเพียงท่อพลาสติกคาไว้
- ต่อท่อกับ 3-way-stop-cock และใช้ syringe ดูดน้ำออกจากช่องอก เก็บไว้ในขวดหรือภาชนะที่เตรียมไว้
หากมีการระบายน้ำลงขวดใหญ่ แพทย์จะขอให้ต่อ extension tube ปล่อยให้น้ำไหลลงขวดภาชนะใหญ่จนได้ปริมาณที่ตั้งใจ
หากมีการระบายน้ำลงขวดใหญ่ แพทย์จะขอให้ต่อ extension tube ปล่อยให้น้ำไหลลงขวดภาชนะใหญ่จนได้ปริมาณที่ตั้งใจ
แผนภาพแสดงการเจาะน้ำในช่องอกขวา ระบายลงภาชนะเก็บ A คือเข็มเจาะ B คือสายยางเชื่อมต่อเข็มกับภาชนะกักเก็บ C คือภาชนะกักเก็บ |
- ถอดท่อออก
ปิดแผลด้วยผ้าก๊อสสะอาดและพลาสเตอร์กันน้ำ
ส่งผู้ป่วยถ่ายเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อตรวจหาลมรั่วในช่องอกและเปรียบเทียบปริมาณน้ำในช่องอกก่อนและหลังการเจาะ
ส่งผู้ป่วยถ่ายเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อตรวจหาลมรั่วในช่องอกและเปรียบเทียบปริมาณน้ำในช่องอกก่อนและหลังการเจาะ
ภาพเอกซเรย์ทรวงอกเปรียบเทียบน้ำในช่องอกขวา ก่อนเจาะ (Pre-aspiration) และหลังเจาะ (Post-aspiration) จะสังเกตเห็นว่าระดับน้ำในช่องอกข้างขวาลดลงอย่างมาก |
ถ้าไม่พบลมรั่วในช่องอก แพทย์อนญาตให้ส่งผู้ป่วยกลับได้